ขอเชิญเข้าร่วมประชุมเสนอรายงานการวิจัย

โครงการวิจัย “เครือข่ายการวิจารณ์ะ : การวิจัยและพัฒนา”

ขอเชิญผู้สนใจเข้าร่วม

การประชุมเสนอรายงานความก้าวหน้าการวิจัยในรอบ 1 ปี

ไม่เสียค่าใช้จ่าย

วันเสาร์ที่ 5 กันยายน  2558  เวลา 08.30 -16.00 น. 

ณ ห้อง 8110  สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ  ประสานมิตร  กรุงเทพฯ

กรุณาลงทะเบียนถึงวันจันทร์ที่ 31 ส.ค. 58 เพื่อสำรองที่นั่ง เอกสาร อาหารว่างและอาหารกลางวัน

ลงทะเบียนออนไลน์

หรือ โทรสาร 02 424 6257 (ใบตอบรับ- บุคคลทั่วไป)

กำหนดการ

8.30-9.00 น. ลงทะเบียน
9.00-9.30 น. เปิดการประชุมแนะนำโครงการอาจารย์อัญชลี ขัยวรพร หัวหน้าโครงการฯ
9.30-10.15 น. รายงานผลการวิจัย สังคีตศิลป์ (ดนตรีไทย)นายไอยเรศ บุญยฤทธิ์ ผู้วิจัยสาขาสังคีตศิลป์ผศ.ดร.รังสิพันธุ์ แข็งขัน  ผู้วิจารณ์
10.15-10.30 น. พักรับประทานอาหารว่าง
10.30-11.15 น. รายงานสรุปผลการวิจัยสาขา ภาพยนตร์อาจารย์อัญชลี ชัยวรพร  ผู้วิจัยสาขาภาพยนตร์รศ.กฤษดา เกิดดี  ผู้วิจารณ์
11.15-12.00 น.  ผู้วิจารณ์รายงานผลการวิจัยสาขา สาขาทัศนศิลป์อาจารย์ ดร. ศุภชัย อารีรุ่งเรือง ผู้วิจัยสาขาทัศนศิลป์รศ. กมล  เผ่าสวัสดิ์  ผู้วิจารณ์
12.00-13.00 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน
13.00-13.45 น. รายงานผลการวิจัย สาขาศิลปะการละครผศ.ภัธทรา  โต๊ะบุรินทร์  ผู้วิจัยสาขาศิลปะการละครผศ. ดร. ปาริชาติ จึงวิวัฒนาภรณ์ ผู้วิจารณ์
13.45-14.30 น. รายงานผลการวิจัย สาขาวรรณศิลป์นางสาวอรพินท์ คำสอน  ผู้วิจัยสาขาวรรณศิลป์อาจารย์ชมัยภร (แสงกระจ่าง) บางคมบาง ผู้วิจารณ์
14.30-14.40 น. พักรับประทานอาหารว่าง
14.40-15.30 น. รายงานบทสังเคราะห์การวิจัยอาจารย์อัญชลี ชัยวรพร หัวหน้าโครงการ
15.30-16.00 น. อภิปรายสอบถามทั่วไปและปิดการประชุม

รายละเอียด

โครงการวิจัย “การวิจารณ์ศิลปะ: รอยต่อระหว่างวัฒนธรรมลายลักษณ์กับวัฒนธรรมเสมือนจริง”  ได้รับทุนสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)  โครงการฯนี้นับเป็นโครงการต่อเนื่องจากโครงการวิจัย 3 โครงการที่ผ่านมา  อันได้แก่  โครงการวิจัย “กวีนิพนธ์ในฐานะพลังปัญญาของสังคมร่วมสมัย : ประสบการณ์จากวรรณคดีไทย  อังกฤษ  อเมริกัน  ฝรั่งเศส และเยอรมัน”  (2538-2541) โครงการวิจัย “การวิจารณ์ในฐานะพลังปัญญาของสังคมร่วมสมัย ภาค 1 และ 2” (2541-2545)  โครงการวิจัย “การวิจารณ์ในฐานะปรากฏการณ์ของสังคมร่วมสมัยเพื่อพัฒนาความรู้ด้านสังคมศาสตร์การวิจารณ์”  (2549-2552)  และ โครงการวิจัย  “การวิจารณ์ศิลปะ: รอยต่อระหว่างวัฒนธรรมลายลักษณ์กับวัฒนธรรมเสมือนจริง”   และในภาค 2 ที่ใช้ชื่อว่า  “การวิจารณ์ศิลปะ: รอยต่อระหว่างวัฒนธรรมสื่อสิ่งพิมพ์กับสื่ออินเทอร์เน็ต” (2553-2556)

ทั้งนี้  จากการดำเนินการวิจัยการวิจารณ์ศิลปะมาอย่างต่อเนื่อง 14 ปี โครงการมีองค์ความรู้และข้อสรุปจากการวิจัย ที่จะสามารถนำมาผนวกกับทิศทางใหม่ที่จะดำเนินการวิจัยในครั้งนี้  คือ  โครงการวิจัย “เครือข่ายการวิจารณ์: การวิจัยและพัฒนา” (18 กันยายน 2557 – 17 กันยายน 2558)  ที่จะเสริมสร้างความแข็งแกร่งในการดำเนินการวิจัยต่อไป   ซึ่งเริ่มต้นด้วยการสำรวจ รวบรวม วิเคราะห์ และประมวลเครือข่าย (compendium of Network) การวิจารณ์ศิลปะ ทั้ง 5 สาขาในประเทศไทย  อันได้แก่ วรรณศิลป์ ทัศนศิลป์  ศิลปะการละคร  ภายนตร์ และสังคีตศิลป์ (ดนตรีไทย) เพื่อจัดทำแผนที่เครือข่ายการวิจารณ์ศิลปะในประเทศไทย   โดยการสัมภาษณ์ผู้รู้ ทั้งผู้ที่มีผลงานวิจารณ์อยู่แล้ว และผู้ที่มิได้เขียนงานวิจารณ์ เพื่อหาศักยภาพของเครือข่ายการวิจารณ์ศิลปะ  วิเคราะห์ข้อมูลและสกัดความรู้จากกิจกรรมและกรณีศึกษาต่างๆ   เป็นข้อสรุปทั่วไปที่ว่าด้วยการการสร้างงานวิจารณ์บนรากฐานของกลุ่มหรือเครือข่าย  ทั้งนี้  โครงการมิได้ทำหน้าที่ฐานะตัวกลางค้นหา  เชื่อมต่อ และ/หรือ สร้างเครือข่ายการวิจารณ์ศิลปะทั้งภายในและระหว่างเครือข่ายในระดับต่างๆ  แต่เพียงฝ่ายเดียว หากเครือข่ายต่างๆ เหล่านี้ต่างมีศักยภาพในฐานะตัวกลางที่จะช่วยเชื่อมและสร้างเครือข่ายการวิจารณ์ศิลปะต่อไปด้วยตนเองได้ก็จะสร้างพลวัตการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง  ซึ่งจะทำให้เครือข่ายการวิจารณ์ศิลปะเหล่านี้คงอยู่และพัฒนาต่อไปอย่างยั่งยืน  โดยไม่จบลงไปพร้อมกับการสิ้นสุดลงของโครงการวิจัย

ในการประชุมครั้งนี้  หัวหน้าโครงการฯ และนักวิจัยสาขาต่างๆ อันได้แก่  วรรณศิลป์  ทัศนศิลป์  ศิลปะการแสดง  ภาพยนตร์ และสังคีตศิลป์  จะได้เสนอรายงานความก้าวหน้าในช่วง 1 ปีแรก พร้อมทั้งเชิญผู้ทรงคุณวุฒิในแต่สาขาเป็นผู้วิจารณ์รายงานที่นำเสนอ

 

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *