การสัมมนาทางวิชาการเรื่อง การวิจารณ์วรรณกรรมแนวนิเวศฯ

การสัมมนาทางวิชาการในหัวข้อ “การวิจารณ์วรรณกรรมแนวนิเวศ (Ecocriticism) :

หลากแง่ หลายมุม จากวรรณกรรมไทยและวรรณกรรมต่างประเทศ”

eco-poater

ดาวน์โหลดใบสมัครและรายละเอียดการสัมมนา

การจัดสัมมนาทางวิชาการในหัวข้อ “การวิจารณ์วรรณกรรมแนวนิเวศ (Ecocriticism) : หลากแง่ หลายมุม จากวรรณกรรมไทยและวรรณกรรมต่างประเทศ” อาทิ การศึกษาวรรณกรรมกับธรรมชาติ  การวิจารณ์เชิงนิเวศ  และสตรีนิยมเชิงนิเวศ (ecofeminism)   ซึ่งเป็นการสัมมนาทางวิชาการในประเด็นนี้เป็นครั้งแรกในประเทศไทย  เพื่อนำเสนอและเผยแพร่องค์ความรู้ใหม่ที่เกี่ยวกับวรรณกรรมวิจารณ์แนวนิเวศ และ “วรรณคดีสีเขียว” หรือ วรรณคดีกับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้เป็นที่รู้จักในวงกว้างมากขึ้น  ทั้งในกลุ่มอาจารย์  นิสิตนักศึกษา นักวิชาการ และผู้สนทั่วไป  ขณะเดียวกันยังเป็นเวทีกลางในการแสวงหาและเชื่อมต่อพันธมิตรผู้สนใจ “การวิจารณ์วรรณกรรมแนวนิเวศ” เข้ากับ “เครือข่ายวรรณคดีสีเขียว” ของไทย (ASLE THAI)  ซึ่งเป็นหนึ่งในสมาชิกเครือข่ายวรรณคดีสีเขียวสากล (ASLE)  เพื่อสร้างความเข้มแข็งในการศึกษาวรรณกรรมแนวนี้ในประเทศไทยต่อไป

กำหนดการ

วันเสาร์ที่ 26 พฤศจิกายน 2559 ห้อง 607 ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร ตลิ่งชัน กรุงเทพมหานคร

๐๘.๓๐ – ๐๙.๐๐ น. ลงทะเบียน
๐๙.๐๐ – ๐๙.๑๕ น. ผู้วิจัยสาขาวรรณศิลป์กล่าวแนะนำโครงการ
๐๙.๑๕ – ๐๙.๓๐ น. ผู้ช่วยผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย ฝ่ายมนุษยศาสตร์ กล่าวเปิดงาน
๐๙.๓๐ – ๑๐.๑๕ น. การบรรยายพิเศษ  โดย รองศาสตราจารย์ ดร. ตรีศิลป์  บุญขจร
๑๐.๑๕ – ๑๐.๓๐ น. พักรับประทานอาหารว่าง
๑๐.๓๐ – ๑๑.๑๕ น. การบรรยาย “การวิจารณ์วรรณกรรมแนวนิเวศ (Ecocriticism): บทแนะนำเบื้องต้น”
โดย ผศ.ดร. ดารินทร์ ประดิษฐทัศนีย์  คณะอักษรศาสตร์  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
๑๑.๑๕ – ๑๒.๐๐ น. การบรรยาย   “ใช่เพียงเดรัจฉาน : สัตวศึกษาในมุมมองของการวิจารณ์เชิงนิเวศ”

โดย รศ. ดร. ธัญญา  สังขพันธานนท์  คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

๑๒.๐๐ – ๑๓.๐๐ น. พักรับประทานอาหารกลางวัน
๑๓.๐๐ – ๑๓.๔๕ น. การบรรยาย   “สตรีนิยมและการคลี่คลายสู่จิตวิญญาณหญิงผ่านภาพผู้หญิงในงานกวีนิพนธ์ มาร์ช เพียรซี
ค.ศ. 1970-1975”โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ศรวณี  สุขุมวาท  คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
๑๓.๔๕ – ๑๔.๐๕ น. เสนองานวิจัย   “Moortown Diary: ขนบวรรณศิลป์กสิกรรมและบทกำสรวลท้องทุ่งในบทกวีของเท็ดฮิ้วจส์”

โดย  ดร. ชัยยนต์ ทองสุขแก้ง  คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

๑๔.๐๕ – ๑๔.๒๕ น. เสนองานวิจัย   “อ่าน ผู้ใหญ่ลีกับนางมา”  ผ่านสายตาการวิจารณ์เชิงนิเวศ”

โดย คุณทนง จันทะมาตย์  นิสิตปริญญาเอก คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

๑๔.๒๕ – ๑๕.๔๕ น. เสนองานวิจัย   “การเยียวยาสถานที่และตัวตน : การรับรู้ใหม่เชิงนิเวศและภูมิทัศน์แห่งความผูกพันใน
นวนิยายเรื่อง Animal Dreams ของ Barbara Kingsolver”โดยคุณวิศรุต  ไผ่นาค  นิสิตปริญญาโท  ภาควิชาภาษาอังกฤษ คณะอักษรศาสตร์  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
๑๔.๔๕ – ๑๕.๐๐ น. พักรับประทานอาหารว่าง
๑๕.๐๐ – ๑๕.๒๐ น. เสนองานวิจัย   “ตัวตนเชิงนิเวศของเรวัตร์ พันธุ์พิพัฒน์ในกวีนินพธ์แม่น้ำที่สาบสูญ”

โดย คุณบรรจง บุรินประโคน นิสิตปริญญาโท  คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

๑๕.๒๐ – ๑๕.๔๐ น. เสนองานวิจัย   “มุมมองสตรีนิยมเชิงนิเวศในวรรณกรรมชนพื้นเมืองอเมริกัน “The Birchbark House” และ
“The Porcupine Year””โดยคุณวันวิสา  เสาร์ใจ  นิสิตปริญญาโท คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
๑๕.๔๐ – ๑๖.๐๐ น. เสนองานวิจัย   “เอื้องแสนเพ็ง” : ตำนานท้องถิ่นกับนัยเชิงนิเวศในนวนิยายเรื่องฤดูดาว

โดย นางสาวอรวรรณ ฤทธิ์ศรีธรณ์  นิสิตปริญญาเอก คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

๑๖.๐๐ – ๑๖.๒๐ น. เสนองานวิจัย   การบรรยาย   “‘ความเป็นพลเมืองระหว่างวัฒนธรรม’ ในการสอนวรรณกรรมเรื่อง
The Hungry Tide ของ Amitav Ghosh”โดยคุณวศินรัฐ  นวลศิริ   นิสิตปริญญาเอก  มหาวิทยาลัย Southampton
๑๖.๒๐ – ๑๗.๐๐ น. อภิปรายซักถามและปิดการประชุม

 

 

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *