การเสนอผลการวิจัย “สนทนาสาธยาย ว่าด้วยเรื่องเครือข่ายของมนุษย์”

โครงการวิจัย “เครือข่ายการวิจารณ์: การวิจัยและพัฒนา”

การเสนผลการวิจัย สนทนา สาธยาย ว่าด้วยเรื่องเครือข่ายของมนุษย์

วันพฤหัสบดีที่ 30 มีนาคม 2560 

เวลา 8.30-16.30 น.

ห้องประชุม 607 ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร ตลิ่งชัน กรุงเทพมหานคร

ไม่มีค่าใช้จ่าย (อาหารว่างและอาหารกลางวัน)

ลงทะเบียนล่วงหน้าได้ที่ 

https://goo.gl/forms/oV3axqE8YUf0YMls2

ดาวน์โหลด

วัตถุประสงค์-การประชุมเสนอผลการวิจัย

กำหนดการ – เสอนผลการวิจัย

กำหนดการ

๐๘.๓๐ – ๐๙.๐๐ น. ลงทะเบียน
๐๙.๐๐ – ๐๙.๑๕ น. หัวหน้าโครงการกล่าวแนะนำโครงการ
๐๙.๑๕ – ๐๙.๓๐ น. ผู้ช่วยผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย ฝ่ายมนุษยศาสตร์ กล่าวเปิดงาน
๐๙.๓๐ – ๑๑.๓๐ น. การเสนอผลการวิจัย  “สนทนาสาธยาย  ว่าด้วยเรื่องเครือข่ายของมนุษย์”

       “เครือข่ายโยงใยมนุษย์”  : ศ.ดร. รื่นฤทัย  สัจจพันธุ์

       “พื้นที่ 4.0 ละครสร้างคน  คนสร้างละคร” : ผศ. ภัทธรา  โต๊ะบุรินทร์

       “ไลค์เพลง  ไม่ไร้เพื่อน”  :  นายไอยเรศ  บุญฤทธิ์ 

       “ภาพซ้อนย้อนแย้งของคนศิลปะ”  : ผศ. ดร. ศุภชัย  อารีรุ่งเรือง 

       “เมื่อตัวหนังสือเปลี่ยนรูป แปลงร่าง” :  น.ส. อรพินท์  คำสอน 

       “ดีไม่ดีอยู่ที่ดาว”  :  อาจารย์อัญชลี  ชัยวรพร  

๑๑.๓๐ – ๑๒.๐๐ น. การเสนอบทสังเคราะห์และสรุปผลงานวิจัย “เครือข่ายโยงใยมนุษย์”  : ศ.ดร. รื่นฤทัย  สัจจพันธุ์
๑๒.๐๐ – ๑๒.๓๐ น. การอภิปรายซักถาม
๑๒.๓๐ – ๑๓.๓๐ น. พักรับประทานอาหารกลางวัน
๑๓.๓๐ – ๑๕.๓๐ น. การเปิดตัวหนังสือโครงการฯ   ๓ เล่ม

    ๑.  “ทวิวัจน์แห่งการวิจารณ์ : ทัศนศิลป์ (ภาค ๑)”  บรรณาธิการ :  ศุภชัย  อารีรุ่งเรือง 

    ๒.  “ทวิวัจน์แห่งการวิจารณ์ : ภาพยนตร์  (ภาค ๑)”  บรรณาธิการ : อัญชลี  ชัยวรพร  

    ๓.  “การวิจารณ์กับทวิวัจน์ข้ามชาติ”  ผู้เขียน : ศ.ดร. เจตนา นาควัชระ

๑๕.๓๐ – ๑๖.๐๐ น. อภิปรายซักถาม

ความเป็นมา

โครงการวิจัย “เครือข่ายการวิจารณ์: การวิจัยและพัฒนา”  ได้รับทุนสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)   โครงการนี้ยังเป็นการทำวิจัยสืบเนื่องมาจากชุดโครงการวิจัยที่เกี่ยวกับการวิจารณ์ศิลปะ จำนวน ๔ โครงการ ซึ่งดำเนินการมาตลอดในระยะเวลา ๑๖ ปีที่ผ่านมา  จึงได้สั่งสมองค์ความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับการวิจารณ์ศิลปะในหลากหลายประเด็น  หากพิจารณาเฉพาะการวิจัยในสาขาวรรณศิลป์พบว่า โครงการฯ ที่ผ่านมาต่างได้ศึกษาและวิเคราะห์การวิจารณ์วรรณกรรมของไทยในหลากหลายแง่มุม  ดังนี้

  • การรวบรวม ศึกษา และวิเคราะห์การวิจารณ์วรรณกรรมในประเทศไทย  โดยศึกษาจากบทวิจารณ์ที่เผยแพร่ในสื่อสิ่งพิมพ์ระหว่าง พ.ศ. ๒๔๗๕-๒๕๔๔  พร้อมคัดสรรบทวิจารณ์ตัวอย่างที่มีพลังทางปัญญา ทั้งบทวิจารณ์ไทยและต่างประเทศจำนวน ๕๐ บทในแต่ละสาขาพร้อมบทวิเคราะห์  ในโครงการวิจัย  “การวิจารณ์ในฐานะพลังทางปัญญาของสังคมร่วมสมัย ภาค ๑”   
  • การขยายการวิจัยไปสู่การกระตุ้นการสร้างบทวิจารณ์จากผู้รับทั่วไปด้วยการวิจัยในรูปของห้องทดลอง (laboratory research) โดยให้ความสำคัญกับการวิจารณ์ในเชิงปฏิบัติ ซึ่งเป็นตัวอย่างของการจัดการความรู้ในรูปแบบหนึ่ง  นับว่าเป็นการบุกเบิกวิธีการวิจัยแบบใหม่  ในโครงการวิจัย  “การวิจารณ์ในฐานะพลังทางปัญญาของสังคมร่วมสมัย ภาค ๒”  
  • การเชื่อมโยงความรู้และประสบการณ์การวิจารณ์ศิลปะเข้าสู่สังคม โดยศึกษาว่าการวิจารณ์ศิลปะมีผลกระทบต่อสภาวะและการเปลี่ยนแปลงต่อปรากฏการณ์ของสังคม    ทั้งในด้านของการรับ การเสพ และการบริโภคงานศิลปะ  รวมทั้งชี้ให้เห็นศักยภาพของพื้นที่ใหม่ของโลกไซเบอร์ที่จะเอื้อต่อการสร้างวัฒนธรรมการวิจารณ์  ในโครงการวิจัย  “การวิจารณ์ในฐานะปรากฏการณ์ของสังคมร่วมสมัยเพื่อพัฒนาความรู้ด้านสังคมศาสตร์การวิจารณ์ ภาค ๑ และ ๒” 
  • การขยายพื้นที่การศึกษาการวิจารณ์จากสื่อลายลักษณ์ไปยังสื่ออินเทอร์เน็ตด้วย ซึ่งผลการวิจัยชี้ให้เห็นว่า การวิจารณ์ศิลปะในสื่อสิ่งพิมพ์ถดถอยไปมาก  ขณะเดียวกันสื่ออินเทอร์เน็ตเป็นพื้นที่ใหม่ที่เสริมวัฒนธรรมลายลักษณ์ในด้านของการวิจารณ์ได้อย่างมีนัยสำคัญ  ในโครงการวิจัย “การวิจารณ์ศิลปะ: รอยต่อระหว่างวัฒนธรรมลายลักษณ์กับวัฒนธรรมเสมือนจริง”   และในภาค ๒ ที่ใช้ชื่อว่า  “การวิจารณ์ศิลปะ: รอยต่อระหว่างวัฒนธรรมสื่อสิ่งพิมพ์กับสื่ออินเทอร์เน็ต”

 

ทั้งนี้  จากการดำเนินการวิจัยการวิจารณ์ศิลปะมาอย่างต่อเนื่อง ๑๔ ปี โครงการมีองค์ความรู้และข้อสรุปจากการวิจัยที่จะสามารถนำมาผนวกกับทิศทางใหม่ที่จะดำเนินการวิจัย  คือ  โครงการวิจัย “เครือข่ายการวิจารณ์: การวิจัยและพัฒนา”  ซึ่งแบ่งการดำเนินการเป็น ๒ ระยะ   ระยะแรกเป็นเวลา ๑ ปี  ระหว่างวันที่ ๑๘ กันยายน ๒๕๕๗ – ๑๗ กันยายน ๒๕๕๘  ซึ่งมีคุณอัญชลี  ชัยวรพร เป็นหัวหน้าโครงการ  โดยเริ่มต้นด้วยการสำรวจ รวบรวม วิเคราะห์ และประมวลเครือข่าย (compendium of network) การวิจารณ์ศิลปะ ทั้ง ๕ สาขาในประเทศไทย  อันได้แก่ วรรณศิลป์ ทัศนศิลป์  ศิลปะการละคร  ภายนตร์ และสังคีตศิลป์ (ดนตรีไทย) และจัดทำแผนที่เครือข่ายการวิจารณ์ศิลปะในประเทศไทย   โดยการสัมภาษณ์ผู้รู้ ทั้งผู้ที่มีผลงานวิจารณ์อยู่แล้ว และผู้ที่มิได้เขียนงานวิจารณ์เพื่อหาศักยภาพของเครือข่ายการวิจารณ์ศิลปะ  วิเคราะห์ข้อมูลและสกัดความรู้จากกิจกรรมและกรณีศึกษาต่างๆ ได้ส่วนหนึ่งซึ่งได้เสนอรายงานความกว้าหน้าของการวิจัยในครั้งนั้นไปแล้ว

สำหรับ  โครงการวิจัย “เครือข่ายการวิจารณ์ศิลปะ: การวิจัยและพัฒนา” ระยะที่ ๒  (๑ ตุลาคม ๒๕๕๘ – ๓๑ มีนาคม ๒๕๖๐)  ได้รับทุนสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)  โดยมีศาสตราจารย์ ดร. รื่นฤทัย  สัจจพันธุ์ เป็นหัวหน้าโครงการ   ในการวิจัยระยะที่ ๒ ได้กำหนดทิศทางการดำเนินงานของโครงการฯ ใน ๔ ลักษณะคือ  ๑) การสำรวจ รวบรวม วิเคราะห์ และประมวลเครือข่าย (compendium of networks) การวิจารณ์ศิลปะ ทั้งในโลกจริงและโลกเสมือน  (ดำเนินการต่อจากการวิจัยระยะแรกสำหรับบางสาขา)  ๒) การเชื่อมโยงและพัฒนาศักยภาพการวิจารณ์ของเครือข่ายที่มีอยู่แล้ว  โดยการจัดกิจกรรมการวิจารณ์ร่วมกับเครือข่ายต่างๆ ที่ค้นพบ ในโลกจริงทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาค  และโลกเสมือน  ๓) การสร้างเครือข่ายการวิจารณ์   โครงการฯ วิจัยทำหน้าที่เชื่อมโยงและประสานงานเพื่อสร้างเครือข่ายการวิจารณ์ขึ้นใหม่  และ ๔) การเผยแพร่องค์ความรู้ด้านการวิจารณ์   ทั้งในรูปบทความทางวิชาการและบทวิจารณ์ในสื่อสิ่งพิมพ์และการวิจารณ์ในสื่ออินเทอร์เน็ต 

ในการประชุมครั้งนี้  หัวหน้าโครงการฯ และนักวิจัยสาขาต่างๆ อันได้แก่  วรรณศิลป์  ทัศนศิลป์  ศิลปะการแสดง  ภาพยนตร์ และสังคีตศิลป์  จะได้เสนอรายงานผลการวิจัย พร้อมเปิดตัวหนังสือซึ่งเป็นผลงานของโครงการวิจัย

 

 

วัตถุประสงค์

เพื่อรายงานผลการวิจัยของโครงการฯ  และเปิดตัวหนังสือซึ่งเป็นผลงานของโครงการวิจัย

 

รูปแบบการดำเนินการ

จัดประชุมเสนอรายงานการดำเนินงาน ๑ วัน  ผู้ร่วมประชุมประมาณ  ๕๐-๑๐๐ คน

 

ระยะเวลาในการดำเนินงาน

            ในวันพฤหัสบดีที่ ๓๐ มีนาคม ๒๕๖๐ เวลา  ๐๘.๓๐ – ๑๖.๐๐ น. ณ ห้อง ๖๐๗  ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร  ถนน
บรมราชชนนี  ตลิ่งชัน กทม. ๑๐๑๗๐

 

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

  1. รายงานเสนอผลการวิจัยของโครงการฯ
  2. รายงานการเปิดตัวหนังสือซึ่งเป็นผลงานของโครงการวิจัย

 

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *