รายงานการเสวนาโต๊ะกลมเรื่องการวิจารณ์ศิลปะ ในหัวข้อ “ปลุกผี…การวิจารณ์ : ทำไม อย่างไร”

รายงานการเสวนาโต๊ะกลมเรื่องการวิจารณ์ศิลปะ

ในหัวข้อ “ปลุกผี…การวิจารณ์ : ทำไม อย่างไร”

วันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2555  ณ The Jim Thompson Art Center

โครงการวิจัย “การวิจารณ์ศิลปะ : รอยต่อระหว่างวัฒนธรรมลายลักษณ์และวัฒนธรรมเสมือนจริง”

(ได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย [สกว.])

 

 

การเสวนาเริ่มเวลา 9.45 น.

 

นักวิจัยสาขาทัศนศิลป์–อาจารย์วันทนีย์ ศิริพัฒนานันทกูร กล่าวแนะนำโครงการและ การจัดกิจกรรมห้องทดลองของสาขาทัศนศิลป์ว่าเป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิจัย “การวิจารณ์ศิลปะ : รอยต่อระหว่างวัฒนธรรมลายลักษณ์และวัฒนธรรมเสมือนจริง” โดยกิจกรรมในวันนี้จะแบ่ง เป็น 2 กิจกรรมคือ กิจกรรมเสวนาโต๊ะกลมเรื่องการวิจารณ์ โดยมีนิทรรศการศิลปะ ชื่อ “ปลุกผี” (Primitive) ของอภิชาติพงศ์ วีระเศรษฐกุล เป็นกรณีศึกษานำเสนอแนวคิดทางการวิจารณ์ผ่าน มุมมองของนักปรัชญา นักรัฐศาสตร์ ศิลปิน และนักวิจารณ์ศิลปะ และกิจกรรมช่วงบ่ายคือ การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างผู้เข้าร่วมเสวนาที่มีต่อผลงานชุดนี้

 

หัวหน้าโครงการวิจัย–ผศ.ดร.ปาริชาติ จึงวิวัฒนาภรณ์ กล่าวแนะนำโครงการวิจัยและ ให้ข้อสังเกตเกี่ยวกับการวิจารณ์ศิลปะว่า โครงการวิจัยนี้ดำเนินการต่อเนื่องมาจากความสนใจ เรื่องการวิจารณ์เมื่อ 12 ปีที่แล้ว เริ่มจากความสนใจเรื่องกวีนิพนธ์ โดย ศ.ดร.เจตนา นาควัชระ เป็นผู้ริเริ่มโครงการ โดยโครงการนี้เป็นโครงการภาคที่ 4 ทำการศึกษาวิจัยเรื่องการวิจารณ์ ศิลปะ 4 สาขา คือ วรรณศิลป์ ทัศนศิลป์ ศิลปะการละคร  และสังคีตศิลป์ ในการทำงานภาคที่ 4 นี้มีการขยายขอบเขตการศึกษาไปที่ภาพยนตร์ การทำงานที่ผ่านมาของโครงการมีผลงาน ปรากฏเป็นหนังสือ ตำรา บทความทางวิชาการ สรรนิพนธ์ ประมาณ 30 เล่ม

จากการค้นพบการวิจัยพบว่าขอบเขตของการวิจารณ์มีความหมายที่กว้างขวางไปมากกว่าการติติง การวิพากษ์ การตัดสิน เช่นที่เข้าใจกันโดยทั่วไป ในโครงการวิจัยเดิมนิยาม การวิจารณ์ว่าหมายถึง “การแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับงานศิลปะ เกี่ยวกับบริบทของศิลปกรรม และ/หรือปัจจัยอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อสร้างความเข้าใจในความหมาย และความสำนึกในคุณค่า ของตัวงาน ตลอดจนคุณค่าของศิลปะโดยทั่วไป นอกจากนี้ยังรวมถึงการแสดงทัศนะเกี่ยวกับ ความสัมพันธ์กับศิลปะ ชีวิตและสังคม” แต่โครงการวิจัยปัจจุบันได้ย่อนิยามความหมายของ การวิจารณ์ลงมาให้เข้าใจง่ายขึ้น ทว่าไม่ได้ละทิ้งการวิจารณ์ความหมายของการวิจารณ์เดิม โครงการนิยามความหมายของการวิจารณ์ว่า หมายถึง การตีความ และประเมินคุณค่างาน ศิลปะจากประสบการณ์ของผู้วิจัย”

พร้อมกันนี้เนื่องจากความคึกคักของการวิจารณ์แปรเปลี่ยนไปตามสภาพของงานศิลปะ และบริบททางเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง ในยุคก่อนหน้ายุคอินเทอร์เน็ตแพร่หลาย ผลงานการวิจารณ์ปรากฏในพื้นที่สื่อสิ่งพิมพ์เป็นหลัก โดยเป็นหลักฐานเชิงลายลักษณ์ที่สำคัญ ในการทำวิจัย ผลการวิจัยเบื้องต้นพบว่า อัตราการตีพิมพ์บทวิจารณ์ลดลง ดังนั้น นี่จึงเป็นจุด เปลี่ยนของวัฒนธรรมลายลักษณ์ในอดีตกับวัฒนธรรมเสมือนจริงในปัจจุบัน การตั้งคำถามถึง พื้นที่ที่จะเชื่อมร้อยความสัมพันธ์ระหว่างสองวัฒนธรรมจึงเกิดขึ้นว่า พื้นที่กลางนี้จะเชื่อมโยง ความสัมพันธ์ และทำให้สองพื้นที่เดินทางมาสนทนากันได้อย่างไร การจัดกิจกรรมของสาขา ทัศนศิลป์ในวันนี้ อาจจะเป็นคำตอบ และสามารถกระตุ้นให้เกิดบทวิจารณ์ศิลปะขึ้นได้ สำหรับ ผู้สนใจสามารถส่งบทวิจารณ์ของท่านมาที่นักวิจัย ถ้าบทวิจารณ์ได้รับการคัดเลือกจะ ได้ตีพิมพ์เผยแพร่ทางออนไลน์ ในเว็บไซต์โครงการ (www.thaicritic.com)

 

เวลา 10.00 น.

กิจกรรมเสวนาโต๊ะกลมเรื่อง “ปลุกผี…การวิจารณ์ : ทำไม อย่างไร?” วิทยากรคือ ดร.เกษม เพ็ญภินันท์, อ.ศิโรตม์ คล้ามไพบูลย์, ดร.ทัศนัย เศรษฐเสรี, อ.ถนอม ชาภักดี ดำเนินการพูดคุยโดย ดร.บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ

นักวิจัยแนะนำประวัติวิทยากร ดังนี้

ดร.เกษม เพ็ญภินันท์ จบการศึกษาระดับปริญญาเอก (ปรัชญา) จาก New School For Social Research ประเทศสหรัฐอเมริกา ปัจจุบันเป็นเป็นอาจารย์ประจำภาควิชาปรัชญา คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ดร.ทัศนัย เศรษฐเสรี เป็นทั้งศิลปินและนักวิชาการ จบปริญญาโทสาขา Visual Arts จาก University of Chicago และปริญญาเอกจากคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ปัจจุบัน เป็นอาจารย์ประจำภาควิชา Media Arts and Design ที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

อาจารย์ศิโรตม์ คล้ามไพบูลย์ ปัจจุบันกำลังศึกษาต่อในระดับปริญญาเอกด้านรัฐศาสตร์ และ International Cultural Studies ที่มหาวิทยาลัยฮาวายอิ และเป็นอาจารย์พิเศษด้านทฤษฎี สังคมศาสตร์และสิทธิมนุษยชนศึกษาที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ มหาวิทยาลัยมหิดล

อาจารย์ถนอม ชาภักดี ดำรงตำแหน่งเป็นหัวหน้าภาควิชาทัศนศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์  มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร และเป็นนักวิจารณ์ศิลปะร่วมสมัย

และดร. บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ เป็นอาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัย รามคำแหง เป็นบรรณาธิการนิตยสารวิภาษา

ดร.บัณฑิต ผู้ดำเนินรายการ กล่าวเริ่มการเสวนาโต๊ะกลมว่า จากคำกล่าวแนะ
นำกิจกรรมของหัวหน้าโครงการทำให้ต้องกลับมาตั้งคำถามถึงบทบาทของตัวเองว่าเราเป็น นักวิจารณ์หรือไม่ เพราะจากช่วงเวลาที่เขียนงานเกี่ยวกับศิลปะนั้น ผู้เขียน หรือวิทยากรทุกคน ในที่นี้นิยามว่าเป็นการเขียนงานวิจารณ์หรือไม่? หรือเป็นเพียงการใช้ศิลปะเป็นเวทีเพื่อที่จะ สื่อถึงอะไรบางอย่าง หรือเพื่อที่จะพูดถึงอะไรบางอย่างจึงใช้ศิลปะเป็นการอุปมาอุปมัย หรือ เพียงแค่ตีความเนื้องาน แล้วนำไปสู่สิ่งอื่น ในพื้นที่แห่งนี้มีนักรัฐศาสตร์ 3 คน นักศิลปะ 2 คน แต่สิ่งที่น่าสนใจคือเมื่อศึกษาในระดับที่สูงขึ้นไปเรื่อยๆ เนื้อหาตำรา สิ่งที่ศึกษากลับมีเนื้อหาที่ คล้ายคลึงกัน เรื่องที่ไม่คิดว่าจะมีความเกี่ยวข้องกันกลับมีความสัมพันธ์กัน และก่อนหน้าที่จะ มาเสวนาในวันนี้ ดร.บัณฑิตได้กลับไปค้นคว้าพบว่ามีหนังสือ 2-3 เล่ม ที่มีนัยทางการวิจารณ์ ศิลปะที่น่าสนใจ

เล่มแรกคือหนังสือของเร โช (Rey Chow) ชื่อ Primitive Passions: Visuality, Sexuality, Ethnography, and Contemporary Chinese Cinema เป็นหนังสือที่น่าสนใจและน่า จะนำไปสู่การตั้งคำถามที่ว่าผู้สร้างภาพยนตร์นั้นสร้างผลงานเพื่อเอาใจชาวต่างชาติใช่หรือไม่ หรือสร้างเพื่อวิจารณ์สังคมตนเอง หรือขายความเป็นจีน  เนื่องจากเร โช (ผู้เขียน) ไวิจารณ์ ผลงานของจาง อี้โหมว และ เฉิน ข่ายเก๋อ ผู้กำกับชาวจีน ซึ่งการทำงานของเขาประสบความ สำเร็จในโลกตะวันตกมากกว่าที่แผ่นดินเกิดของตัวเอง ในประเด็นนี้ใกล้เคียงกับกรณีของ อภิชาติพงศ์ ในขณะที่อภิชาติพงศ์ประสบความสำเร็จในต่างประเทศ แต่ก็ยังมีคนไทยหลายคน ที่กล่าวว่าดูงานชิ้นนี้แล้วไม่เข้าใจ เพราะว่าตัวผลงานมีความกระจัดกระจายในหลายๆ เรื่อง การ คัดเลือกนักแสดง ก็เป็นเพียงชาวบ้าน ที่แตกต่างจากภาพยนตร์เรื่องอื่น และมีสาระสำคัญที่ชวน คิดต่อได้อีกมาก สำหรับผลงานอีกเล่มอยู่ในกลุ่มของนักรัฐศาสตร์ที่สนใจเรื่องภาพยนตร์ คือ Rethinking Third Cinema ของ R. Guneratne, Wimal Dissanayake

อนึ่ง การเสวนาในวันนี้จะเปิดพื้นที่ให้วิทยากรทุกคนได้พูดจากมุมมองของตัวเองเพื่อ เชื่อมโยงกับสิ่งที่ ดร. ปาริชาติ ได้พูดไว้ คือการมองงานของอภิชาติพงศ์ จากมุมมอง จาก ความเชี่ยวชาญในสาขา เพื่อนำไปสู่การคิดต่อ เชื่อมต่อด้านอื่นๆ ต่อไป โดยจะเริ่มจากมุมมอง จากคนในวงการศิลปะ คืออาจารย์ถนอม ชาภักดี

าจารย์ถนอม  กล่าวว่า โดยส่วนตัวมีโอกาสติดตามงานของของอภิชาติพงศ์ตั้งแต่ ชิ้นแรกมาจนถึงชิ้นล่าสุดคือ  “Primitive” ประเด็นที่น่าสนใจที่ส่งผลเชื่อมโยงต่อวัฒนธรรมและ ขนบของไทยอยู่ตรงที่

  1. เราไม่สามารถวิพากษ์วิจารณ์ขนบไทยได้โดยตรง อภิชาติพงศ์จึงมีการใช้ผี คนบ้า ความไม่สมประกอบ มาเป็นเครื่องมือในการวิพากษ์วิจารณ์ในเรื่องต่างๆ
  2. การพูดเรื่องอดีตชาตินั้นมีความเกี่ยวข้องกับเรื่องพุทธ และพระพุทธเจ้า ซึ่งอีก นัยหนึ่งหมายถึงคนที่ไม่มีตัวตน จึงต้องนำคนปกติมาเป็นผู้ถ่ายทอด
  3. ประเด็นสุดท้ายคือเรื่องปลุกผี ความสนใจของงานชิ้นนี้อยู่ที่การพูดถึงตำนาน นาบัว การดู “Primitive” ไม่ได้ทำให้รู้สึกถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นที่นาบัว แต่กลับไปนึกถึง เรื่องราวของตนเองในช่วงเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 ที่ถูกจับที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ภาพยนตร์ของอภิชาติพงศ์ทำให้เราได้เห็นเรื่องราวของตนเอง ประสบการณ์ส่วนตนของผู้ชม จึงถูกนำไปเกี่ยวข้องกับผลงานศิลปะของอภิชาติพงศ์ เนื่องจากหากใช้เพียงการศึกษาจากตัว งานเพียงอย่างเดียว นั้นเป็นความยากลำบากมากที่จะเข้าใจความเป็นมาและเรื่องราวในงานที่ เกิดขึ้นด้วย เพราะผลงานของอภิชาติพงศ์ไม่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ที่นาบัว วันเสียงปืนแตก เมื่อ 7 สิงหาคม 2508 เลย แต่อภิชาติพงศ์นำ เรื่องราวเหล่านั้นมาถ่ายทอดให้กับคนรุ่นใหม่ใน หมู่บ้านได้คิดถึงเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องอีกครั้ง ทำให้เห็นความทรงจำและความคิดของคนใน เหตุการณ์การเคลื่อนไหวทางการเมืองต่างๆ ที่เกิดขึ้นในประเทศไทยได้รับรู้ว่าคนรุ่นใหม่นั้นมี ความคิดเห็นอย่างไร พร้อมกันนี้ความน่าสนใจอีกอย่างหนึ่งอยู่ที่การสร้างยานอวกาศและมีเด็ก หนุ่มเข้าไปเล่าเรื่องราวของตนเอง ซึ่งก็ไม่ใช่เรื่องราวที่เกิดขึ้นที่นาบัวอีกเช่นกัน งานศิลปะ ทำให้เราได้เห็นภาพรอย “ไม่” ต่อของประวัติศาสตร์ของนาบัว ทำให้ได้เห็นกระบวนการทาง สังคม ทำให้เห็นว่ารัฐในปี 2508 และรัฐในปี 2555, 2554, 2553 คิดอย่างไรกับกระบวนการวิถีชีวิตของคน อภิชาติพงศ์ใช้วิธีการไม่พูดถึง ดึงประเด็นที่เคยเกิดขึ้นให้กลับมาอีกครั้ง ซึ่งการ ไม่พูดถึงนี้ ทำให้คนในวงการศิลปะยุคปัจจุบันต้องกลับมาทบทวนและตั้งคำถามว่า การไม่พูด ถึงของภาพยนตร์ ของงานศิลปะกับตำนานทางประวัติศาสตร์นำมาซึ่งเหตุและผลใด สาเหตุเป็น เพราะศิลปินไม่พูดถึง หรือศิลปินจงใจที่จะไม่พูด และที่สำคัญการไม่พูดถึงนี้สามารถทำให้ ผู้ชมคิดต่อได้หรือไม่

สำหรับประเด็นการจัดวางผลงาน (Installation) เมื่อศิลปินผลิตผลงานเสร็จสมบูรณ์ และนำออกมาจัดแสดง ตรงนี้เห็นได้ชัดว่า อภิชาติพงศ์ไม่ได้ต้องการให้ผู้ชมระลึกถึงความเป็น นาบัว หรือเหตุการณ์ที่นาบัว แต่ทำให้ผู้ชมเห็นถึงกระบวนการจัดการศิลปะของอภิชาติพงศ์ ผลงานศิลปะนั่นคืออภิชาติพงศ์ใช้กรณีของนาบัวมาเป็นตัวจุดประกายให้คนได้คิด โดยเฉพาะ ชื่องานที่แม้จะเป็นแค่ชื่อก็สามารถทำให้คนได้คิด ระลึกถึง อีกทั้งยังมีองค์ประกอบเรื่องภาษา ของภาพยนตร์ที่ถูกใส่เข้าไปในงานนี้ด้วย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการใช้แสง ยานอวกาศ ผี สิ่งเหล่านี้ ศิลปินต้องการปลุกเร้าอารมณ์ของผู้ชมให้ย้อนกลับไปสู่ที่เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นของนาบัวมากกว่า ดังนั้น จุดนี้จึงต้องมีคนมาทำซ้อนในเรื่องของนาบัวเพื่อทำให้เกิดบริบททางประวัติศาสตร์ สังคม และวัฒนธรรม เพราะลำพังแค่ผลงานของอภิชาติพงศ์คงยังไม่สามารถทำให้คนคิดถึงเหตุการณ์ที่ นาบัว ในวันที่ 7 สิงหาคมได้ ยังต้องมีนักสร้างคนอื่นและผู้ดูคนอื่นที่จะมาช่วยกันเติมเต็มความ เป็นศิลปะของอภิชาติพงศ์ อย่างไรก็ตามในฐานะความเป็นงานศิลปะ และการติดตั้งผลงาน ศิลปะ (Installation) อภิชาติพงศ์ได้ใช้กระบวนการปลุกผีเพื่อที่จะให้คนระลึกถึงเหตุการณ์ที่ เกิดขึ้นที่นาบัว เหตุการณ์การต่อสู้ของชาวบ้านในนาบัวได้

ดร.บัณฑิตกล่าวสรุปประเด็นของอาจารย์ถนอมว่าการปลุกผีในแง่การเล่าเรื่อง อัน หมายถึงในแง่ของสิ่งที่เกิดขึ้นในอดีต เช่นในกรณีของนาบัว ที่เหมือนจะเป็นการทำซ้ำ (reenact) แต่ก็เป็นการทำซ้ำที่ไม่เหมือนเดิม และไม่มีความสัมพันธ์กับสิ่งที่เกิดขึ้น ตรงกันข้าม เรื่องเล่าของอภิชาติพงศ์ทำให้เราคิด สงสัยถึงปฏิบัติการของรัฐที่กระทำกับประชาชนเมื่อ 40 กว่าปีก่อนว่า ยังเหมือนเดิมหรือไม่ นี่คือประเด็นที่ อ.ถนอมได้ทิ้งไว้ พร้อมกับให้แง่มุมในฐานะที่ เป็นคนรุ่น 6 ตุลาคม ที่มีความเกี่ยวข้องโดยตรงกับประวัติศาสตร์ในยุคนั้น อีกทั้งยังมีเรื่อง สัญญะบางอย่างที่ล่องลอยในงานจัดวางประกอบกับการสร้างยานอวกาศของอภิชาติพงศ์

ขณะเดียวกันผู้ดำเนินรายการได้เปิดประเด็นว่า ยังมีอีกประเด็นที่น่าสนใจในผลงาน ศิลปะชิ้นนี้คือ สภาวะเรื่องความรักระหว่างชายกับชาย  (Male bonding) ที่ปรากฏในผลงาน เรื่องนี้ที่ให้ความรู้สึกรุนแรงมากจนทำให้รู้สึกสงสัย เพราะการมีประเด็น Male Bonding ปรากฏ นี้สำหรับคนที่เรียนปรัชญาอาจทำให้รู้สึกถึงยุคกรีกที่ชายกับชายรักและปกป้อง คุ้มครอง ดูแล กันและกัน เช่น อะคริลิส (Achilles) กับหนุ่มผู้น้องที่ไปรบที่เมืองทรอย จนทำให้เมืองทรอยล่ม สลาย และเพื่อให้ประเด็นการพูดคุยดำเนินไปได้ต่อ ดร.บัณฑิตจึงให้ อ.ศิโรตม์ ช่วยขยายความ และเชื่อมโยงประเด็น

อ.ศิโรตม์เริ่มต้นการนำเสนอของตนเอง โดยพูดถึงสิ่งที่เตรียมมาคือเรื่องการวิจารณ์ และการพูดถึงงานของอภิชาติพงศ์ โดยกล่าวว่าในหนังสือของกุสตาฟ โฟแบร์ พูดถึงการวิจารณ์ ว่าหมายถึงคนที่ต้องเห็นต้องรับรู้มาแล้วในทุกๆ เรื่อง ในบริบทของกรีกก็มีการปรากฏเรื่องการ วิจารณ์เช่นกัน มีคาแรกเตอร์หนึ่งชื่อ Zoilus ถูกฆ่าตายเพราะไปวิจารณ์กษัตริย์ ประเด็นการ ตายของตัวละครนี้นำมาซึ่งการถกเถียงว่าเขาถูกฆ่าตายด้วยวิธีการใด เวอร์ชั่นหนึ่งบอกว่าเขา ถูกฆ่าตาย ด้วยการประหาร การปาหิน  อีกเวอร์ชั่นบอกว่าถูกฆ่าด้วยการโยนลงภูเขาทำให้ ตายทั้งเป็น สรุปคือในแง่หนึ่งแม้นักวิจารณ์จะต้องทำให้เรารู้ทุกเรื่อง แต่ในอีกแง่หนึ่ง ถ้าพูด ผิดหูก็อาจจะนำมาซึ่งความตายได้

อ.ศิโรตม์กล่าวว่าการวิจารณ์คือการพยายามทำให้สิ่งต่างๆ ที่เคยเป็น ความคิด ความเชื่อ เป็นบรรทัดฐาน (norm) ทั้งในสังคม ศิลปะ และในทุกสิ่งมีข้อจำกัดมากขึ้น โดยปกติ ที่เราฟังเรื่องความรู้ ศิลปะ เรามักคิดว่าสิ่งเหล่านั้นเป็นความจริง (Truth) โดยสมบูรณ์แบบ และ ทุกสิ่งไม่มีข้อจำกัด แต่การวิจารณ์มีส่วนช่วยทำให้เกิดข้อจำกัด ทำให้ความเป็นจริงเป็นเพียง เหตุผลเชิงคาดการณ์ คาดคะเน แสดงให้เห็นว่าสิ่งที่ถูกสร้างถูกนำเสนอ (represent) มีเหตุผล ในการสร้างอย่างไร ฉะนั้นถ้านำประเด็นนี้กลับมาพิจารณาถึงงานของอภิชาติพงศ์จะพบ ว่ามีประเด็นที่น่าสนใจ เช่นที่ อ.ถนอมพูดถึงการที่อภิชาติพงศ์พูดถึงเรื่องนาบัว และการเป็น คอมมิวนิสต์ และถ้าลองนำผลงาน “ปลุกผี” มาโยงเข้ากับผลงาน “ลุงบุญมีระลึกชาติ” หรือ โปรเจคอื่นๆ  ความน่าสนใจของผลงานเหล่านี้คือมีธีม (theme) บางอย่างอยู่และอภิชาติพงศ์ กำลังทำการวิจารณ์ ในประเด็นที่ทำให้การรับรู้ของเราเกี่ยวกับสังคมไทย การวิจารณ์สังคมไทย ไปไกลมากขึ้น

ในกรณีผลงาน “ลุงบุญมีระลึกชาติ” เรามองเห็นเรื่องการทำให้ตัวละครที่มาจากบริบท ที่ต่างกันมาเผชิญหน้ากัน ในฉากที่มีชื่อเสียงมีคนพูดถึงเป็นอย่างมากคือ ฉากบนโต๊ะอาหาร ที่มีตัวละคร ลุงบุญมี ลิงผี ภรรยาเก่า ภรรยาปัจจุบัน และตัวละครอื่นๆ ซึ่งไม่มีทางเกิดขึ้นได้ใน โลกปัจจุบัน  ในขณะที่ละครไทยชอบที่จะมีฉากบนโต๊ะอาหาร เหมือนที่ในหนังฝรั่งชอบมีฉาก บนเตียง ฉากแบบนี้อภิชาติพงศ์นำมาสร้างโดยใส่รูปแบบใหม่ๆ เข้าไปโดยและทำให้เกิด การเผชิญหน้าของตัวละครที่มาจากภูมิหลังทุกชุดที่ต่างกันไป ลุงบุญมีเป็นตัวแทนของปัจจุบัน ภรรยาเก่าเป็นตัวแทนของอดีตของลุงบุญมี ที่ลุงบุญมีลืมไปแล้ว ลิงผีเป็นตัวแทนของคน ที่เกี่ยวข้องกับคอมมิวนิสต์ การนำเอาอดีตในหลายๆ แบบมาปะทะกันมีผลทำให้ความหมาย ในปัจจุบันนั้นเปลี่ยนไปได้ นี่คือสิ่งที่อภิชาติพงศ์ใช้มากในงานของเขา การนำเอาตัวละคร ซึ่งมี ความทรงจำที่หลากหลายและแตกต่างกันออกไปมาปะทะกัน แล้วทำให้เราซึ่งเป็นผู้ดูเหตุการณ์ ปะทะ มองปัจจุบันเปลี่ยนไป ในกรณีลุงบุญมีคนที่ดูฉากนี้จะต้องเกิดการตั้งคำถามว่าเกิด อะไรขึ้นกับลิงผี และทำไมลิงผีถึงถูกกันออกไปจากสังคมของลุงบุญมี แล้วทำไมลิงผีต้องกลับ มาใหม่  กล่าวสรุปความหมายของอดีตที่เปลี่ยนไปจึงมีผลทำให้ความหมายต่อปัจจุบันเปลี่ยน ไปด้วย ซึ่งมาถึงจุดหนึ่งแล้วอาจทำให้ความหมายของอนาคตเปลี่ยนไป ทุกวันนี้เราจึงเห็นว่า ปัญญาชนที่สนใจเหตุการณ์การเมืองไทยจะพูดถึงเหตุการณ์บางแบบที่พูดไม่ได้ เช่นกรณี สวรรคต หรือเหตุการณ์ 6 ตุลา โดยคนจำนวนมากมีความเชื่อว่าถ้าพูดถึงเหตุการณ์เหล่านี้มาก ขึ้นจะทำให้อนาคตของสังคมไทยเปลี่ยนไป ดังนั้นการปะทะระหว่างอดีตจึงมีผลกระทบทำให้ ภาพของอนาคตเปลี่ยนไปด้วย

ความน่าสนใจอยู่ตรงที่ ในขณะที่ลุงบุญมีเป็นการทำงานศิลปะ โดยมีเซนส์เรื่องสังคม ค่อนข้างชัดเจน แต่กรณี “Primitive” มีความเปลี่ยนแปลงที่สำคัญคือมีการพูดถึงเรื่องการสร้าง ระยะห่างระหว่างเราในปัจจุบันกับอดีตที่เปลี่ยนไปในแง่ของการวิพากษ์วิจารณ์มากขึ้น คนดู จำนวนหนึ่งจึงอินกับลิงผีที่ถูกกันออกไปจากสังคม ไปมีชีวิตอยู่ในอีกมุมหนึ่ง ไปอยู่ที่พื้นที่อีกที่ หนึ่งรู้สึกว่าเรื่องของลิงผีคือโศกนาฏกรรมแบบหนึ่งในเหตุการณ์ทางการเมือง ไม่ว่าจะเป็น เหตุการณ์ 2519 หรือเหตุการณ์ 2553 ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับประสบการณ์ส่วนตัวของคนดูแต่ละคน ที่จะใส่ความหมายของตัวเองเข้าไปในโศกนาฏกรรมเหล่านั้น และความเปลี่ยนแปลงของ “Primitive” อีกสิ่งที่น่าสนใจคือ องค์ประกอบบางอย่างในงานที่ทำให้คนดูรับรู้ได้จากงานของ อภิชาติพงศ์ก็คือ แม้เราจะตั้งคำถามกับอดีตก็มีประเด็นระยะห่างระหว่างตัวละครในอดีตที่เข้า มาสร้างกรอบการคิดของเราในปัจจุบันด้วย กล่าวคือ ในขณะที่ภาพยนตเรื่อง “ลุงบุญมีระลึก ชาติ” ทำให้เรารู้สึกเห็นใจตัวละคร แต่ในงาน “Primitive” กลับจะทำให้เราได้ตั้งคำถามว่าความ เห็นอกเห็นใจที่เรามีนั้นมีเงื่อนไข (condition) มีอะไรบางอย่างกำกับเราอยู่หรือไม่ เช่น ความ รู้สึก การรับรู้ทาง การเมืองบางแบบ คำถามของ “Primitive” ก็คือ ถ้าเราไม่มีการรับรู้ทาง การเมืองบางแบบ เราจะมีทัศนะต่อลิงผีเปลี่ยนไปด้วยหรือไม่ ระยะห่างที่มากขึ้นจะส่งผลต่อ ความรู้สึกเห็นอกเห็นใจด้วยหรือไม่ และถ้ารูปแบบ (form) เปลี่ยนแปลง ส่งผ่านให้ความรู้สึก ที่เรามีในการดูงานเปลี่ยนไป การคิดเรื่องอนาคตที่มีต่ออดีตจะเปลี่ยนไปด้วยหรือไม่ จำเป็น หรือไม่ที่เราจะต้องรับรู้ชะตากรรมของคนในเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 ในแบบเดียวกับคนที่ เคยผ่านเหตุการณ์ 6 ตุลาคมมา จำเป็นหรือไม่ที่เราจะต้องรับรู้เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในนาบัวใน แบบเดียวกับคนที่อยู่ในพื้นที่ที่นาบัวรับรู้ เรามีทางเลือกแค่เพียงสองทางใช่หรือไม่ ซึ่งผลงาน เรื่อง “ลุงบุญมีระลึก ชาติ” จะดูเหมือนว่าบทสรุปจะเป็นเช่นนั้น คือ 1 สนับสนุนการฆ่าลิงผีแล้ว เอาลิงผีออกไปจากสังคมของเรา หรือ 2. เอาลิงผีมาอยู่ในภพของเราให้ได้ทางเลือกของมนุษย์ มีเพียงแค่สองทางเลือกเท่านั้น แต่ในงาน “Primitive” อภิชาติพงศ์ให้ทางเลือกกับคนดูที่มากไป กว่า 2 ทางเลือก เราไม่จำเป็นที่จะต้องเห็นด้วยกับการเอาลิงผีออกไปจากสังคมของเรา ขณะเดียวกันทางเลือกของเราก็ไม่ได้จบแค่ว่าอดีตที่เกิดมาแล้วทุกอย่างจะจบ “Primitive” จึงไป ไกลมากกว่าในแง่ของ การเสนอทางเลือกใหม่ๆ และอื่นๆ การพยายามให้ความสนใจเรื่อง สังคมอย่างมีสูตรสำเร็จที่ตายตัว “Primitive” จึงเป็นเสมือนการวิจารณ์ผลงานเรื่อง “ลุงบุญมีฯ” ในอีกแง่หนึ่งด้วย ในขณะที่ “ลุงบุญมีฯ” มีแนวคิดแบบคนไทยที่มีทางเลือกทางการเมืองในแบบ ที่ไม่ ก. ก็ ข. ตลอดเวลา แต่ “Primitive” ไม่ใช่ นี่คือความน่าสนใจของผลงานชุดนี้ที่ทำให้วิธีคิด ของเราต่อการวิจารณ์น่าสนใจขึ้น เพราะบ่อยครั้งที่การวิจารณ์ โดยเฉพาะคนที่มาจากสาย สังคมศาสตร์มักจะพูดถึงงานศิลปะ งานมีเดียต่างๆ โดยมีแนวคิดในแบบสังคมศาสตร์บางแบบ กำกับอยู่ และพยายามใช้แนวคิดนั้นเข้ามาพูด advocate งานศิลปะผ่านความเป็นธรรมทาง สังคม นี่เป็นกับดักบางอย่างเหมือนกันในการวิจารณ์ศิลปะ

ดร. บัณฑิตกล่าวสรุปสิ่งที่ อ.ศิโรตม์พูดว่า ศิลปะของภาพยนตร์ทำให้เกิดสิ่งที่ไม่ สามารถเกิดขึ้นได้ เป็นการเป็นไปได้ของสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ หรือความเป็นไปได้ของสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ การเอาคนต่างที่ต่างเวลา เอาคนที่ไม่สามารถจะอยู่รวมกันได้มาทำให้เกิดขึ้นได้จาก บทความที่ ดร.บัณฑิตเคยเขียนได้พูดถึงภาพยนตร์เรื่องนี้ว่า ลุงบุญมีได้รื้อสร้าง (reconstruct) อดีตที่เคยถูกทำลายไปหมดแล้วทีละเล็กทีละน้อย ดังนั้นจึงเป็นการกระทำสิ่งที่ไม่น่าเกิดขึ้นได้ ให้เกิดขึ้นได้ และสร้างประสบการณ์ร่วมให้กับผู้ชมในอีกมิติหนึ่ง ขึ้นอยู่กับว่าผู้ชมจะเชื่อมโยง กับงานนี้อย่างไร สิ่งที่น่าสนใจอีกหนึ่งอย่างก็คือเรื่องผี ทำไมต้องเป็นลิงผี ไม่เป็นผีชนิดอื่น ดร. บัณฑิตเชิญ ดร.ทัศนัย อภิปรายต่อในฐานะเป็นบุคคลที่อยู่ในสาย Media Arts ให้จะเชื่อมโยง งานศิลปะกับสื่อใหม่ และการวิจารณ์ในฐานะสื่อที่ทำให้สิ่งที่เป็นไปไม่ได้เกิดขึ้นได้

ดร. ทัศนัยกล่าวว่า ศิลปะน่าจะนำไปสู่การพูดถึงสิ่งที่ไม่สามารถพูดถึงได้ เพราะฉะนั้น แล้ว สถานะการวิจารณ์ของตนเองในวันนี้จะต้องแตะในประเด็นที่ไม่สามารถกล่าวถึงได้ด้วย  การจะเชื่อมโยงสิ่งที่เกิดขึ้น คงจะต้องลองเรียงลำดับให้ดูว่าเกิดอะไรขึ้น และถอยกลับไปไกล เพื่อจะแสดงให้เห็นถึงการวิจารณ์ในฐานะทัศนศิลป์เพื่อที่จะมาจบข้อสรุปว่าโลกศิลปะ (Art World) ในสังคม ไทยเป็น “The World of Artistic Cult” เป็นโลกของลัทธิพิธีทางศิลปะที่สร้าง ข้อจำกัดบางอย่าง ซึ่งทำให้วิถีทางการวิจารณ์เป็นไปได้ยาก เรารับรู้มาแล้วว่าสังคมก่อนที่จะ เป็น Modern, Premodern ในสังคม Primitive การจับรูปแบบความสัมพันธ์ทางสังคมยืนอยู่บน ลัทธิวิญญาณนิยม (Animism) ซึ่งยังคงทำงานอย่างแข็งแรงในสังคมไทย รวมทั้งสำนึกลึกแบบ Mentality ในภาคปฏิบัติของศิลปิน นักวิจารณ์ในภาคปฏิบัติด้วย ภายหลังลัทธิ Animism ถูก แปรเปลี่ยน และทำให้มีลักษณะที่เป็นกายภาพมากขึ้น ที่นำมาสู่การเป็นลัทธิเครื่องลางของขลัง (Fetishism) ซึ่งในนัยะหนึ่ง  ผลงานศิลปะส่วนหนึ่งในสังคมไทยมีสถานะเป็นแค่เพียงเครื่องราง ของขลังของสุนทรียศาสตร์เท่านั้น การเกิดขึ้นของลัทธิวิญญาณนิยมนำไปสู่การทำให้วิญญาณ ที่ไร้รูปร่าง และความพะว้าพะวงต่อมนุษย์ที่ไม่เข้าใจโลกภายนอกนั้น นำไปสู่การสร้าง รูปเคารพในลักษณะต่างๆ เป้าหมายเพื่อ 1. ควบคุมอำนาจที่ตนเองมองไม่เห็น หรือไม่รู้จักเพื่อ ลดความขัดแย้ง หรือความพะว้าพะวงภายในของตนเอง 2. ฝากความหวัง ความเชื่อ ความฝัน ไว้กับวัตถุทางภายภาพที่ตนเองสร้างสรรค์ขึ้นมา ซึ่งเราเรียนรู้แล้วว่าในภายหลังวัตถุเหล่านั้น กลับมีอำนาจเหนือการควบคุมของมนุษย์ จนกลายเป็นความฝัน ความหวัง และความเชื่อต่างๆ (belief) ศรัทธา กลายเป็นเรื่องปกติที่ถูกจัดการ (abuse)  จากโลกของเครื่องรางของขลังเสียเอง สิ่งที่ถูกจับฝัง (embedded) ในโลกของเครื่องรางของขลังวัตถุนี้ก็คือ อำนาจเหนือธรรมชาติ สิ่ง เหล่านี้สะท้อนความพะว้าพะวงของมนุษย์ต่อโลกของวัตถุ และความสัมพันธ์ของมนุษย์ต่อโลก กับโลกของวัตถุ และความสัมพันธ์ของมนุษย์ต่อโลกที่ตนเองไม่รู้จัก ซึ่งไม่ใช่วัตถุ แต่เป็นโลก ของจินตนาการ โลกของปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ (phenomena) ต่างๆ สิ่งเหล่านี้ยังคงอยู่ เป็นเบื้องหลังของงานศิลปะ มีพลังเหนือธรรมชาติบางอย่าง  ไม่ว่าศิลปินจะใช้คำอธิบายชุดใด มาอธิบายก็ตาม ฉะนั้นการชื่นชมงานศิลปะในเมืองไทยมีความสำคัญที่จำเป็นสองส่วน คือ การ มองเห็นที่เรารับรู้โลกของวัตถุ ไม่ว่าโลกจะเปลี่ยนจากโลกของวัตถุไปสู่โลกของ New Media อย่างไร สายตาก็ยังคงเป็นพระเอกที่สร้างให้เกิดการทำงาน การรับรู้ (perception) และสร้าง ระดับความชื่นชมต่างๆ สิ่งที่เราเห็นนำไปสู่การสั่นสะเทือนความรู้สึกภายในทั้งของผู้ชม และผู้ ปฏิบัติ (ศิลปิน) การมองเห็นโลกของวัตถุ สิ่งที่เร้าความรู้สึกผู้ชม สังคม โลกศิลปะ รวมถึงวิธี เขียนงานวิจารณ์ศิลปะจึงเป็นการปลุกเร้าความรู้สึกภายในที่มีอยู่ในวัตถุ หรือตัวศิลปะที่พบ เห็นระหว่างตัวผู้ชมและงานศิลปะ รวมถึงปะทะกับความรู้สึกภายในของตัวผู้ชมด้วย

วิธีการที่กล่าวมานี้ เป็นการสะท้อนแนวคิดสุนทรียศาสตร์เพียงสายเดียวคือ สายตัววัตถุ (Object) ที่พัฒนามาจากยุคกลางในโลกตะวันตก (สายคอนเซปต์) ในขณะที่สุนทรียศาสตร์ ใน ช่วงปลายศตวรรษที่ 19 แนวคิดสุนทรียศาสตร์ในสายประสบการณ์ (Experience) ได้รับความ สนใจน้อยมาก จนแทบไม่ปรากฏ มีเริ่มปรากฏในผลงานศิลปะงานใหม่ๆ ดังนั้น ถ้าสิ่งที่มอง เห็ ได้ และสิ่งที่รู้สึกได้การใช้ประสาทสัมผัส การมองเห็น ได้ยิน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการรับรู้ ไม่ นำพาไปสู่แนวคิดเชิงวิจารณ์ ในขณะที่ส่วนของการใช้ความรู้เหตุผล (Thinking) จึงถูกลดบท บาทลงไป สิ่งนี้คือข้อจำกัดทั้งในภาคปฏิบัติของตัวศิลปะ เช่นที่ในโรงเรียนสอนศิลปะ มักสอน นักศึกษาให้ใช้ความรู้สึกสร้างผลงานจากสิ่งที่เห็น แล้วถ่ายทอดสิ่งที่รู้สึกออกมาเป็นวัตถุ ไม่ว่า จะในรูปแบบของจิตรกรรม ประติมากรรม หรือรูปแบบใดๆ ก็ตาม สิ่งนี้คือการใช้แนวคิดเครื่อง รางของขลัง (Fetishism) แบบเดิม จนกลายเป็นสิ่งที่ตามมาในวงเขตปริมณฑลในภาคปฏิบัติ หลายส่วน ทั้งศิลปะ ศิลปิน และนักวิจารณ์ ซึ่ง ดร.ทัศนัยเรียกโดยรวมว่าเป็น “The World of Artistic Cult” โลกของลัทธิพิธีทางศิลปะที่มีขึ้นเพื่อที่จะสอดรับ (inherit) ระบบคุณค่าบางอย่าง ของพลังเหนือธรรมชาติที่มีแต่เดิมต้องการ รวมถึงยังทำหน้าที่ตอกย้ำ (reinforce) ทำหน้าที่ จรรโลงอำนาจเหนือระบบบางอย่างด้วย ฉะนั้นการทำความเข้าใจระดับของการชื่นชมคุณค่า ของผลงานศิลปะบางอย่าง มักจะเป็นไปในรูปแบบของ object oriented เสมอ และนี่เป็น ข้อจำกัด

อย่างไรก็ตาม ในขณะที่แนวคิดวิญญาณนิยม (Animism) ไม่ได้มีพระเจ้าที่ได้รับการนับถือเพียงแค่องค์เดียว เหมือนกันทุกคน เช่น ในภูมิภาคอุษาคเนย์ “ผี” มีสถานะที่แตกต่างกัน โดยสิ้นเชิง ภายหลังจากที่การเข้ามาของผีบางตน ผีท้องถิ่นจึงถูกทำให้หมดกำลังลงไปเรื่อยๆ และตรงนั้นเป็นเหตุผลสำคัญที่นำไปสู่ประวัติศาสตร์ของชาติและประวัติศาสตร์ของศิลปะในเวลา ต่อมา ทำให้เกิดประวัติศาสตร์ของผีเก่า และการเกิดขึ้น (ผ่านการประดิษฐ์) ของผีตนใหม่ที่เข้า มาทำหน้าที่แทนผีตนเก่ามากขึ้นเรื่อยๆ ผีตนใหม่ ผีลัทธิใหม่ ไม่ว่าจะเป็นพราหมณ์ ฮินดู พุทธ ที่นำเอาไอคอนของผีเหล่านี้มาสร้างสัญลักษณ์ (Symbol) รูปเคารพใหม่ได้ถูกยกระดับเป็น เทพยดา หรือเทพเจ้า ซึ่งมีความเป็นลำดับชั้นที่ไม่ได้มีสถานะเดียวกันเหมือนผีเก่า หรือผี ท้องถิ่น แต่เมื่อไรก็ตามที่ผีถูกยกระดับเป็นเทพยดาได้ทำให้เกิดความเป็นลำดับชั้น (Hierarchy) ของผี ผลงานศิลปะ การให้คุณค่าเป็นเสมือนการเสริมย้ำ (reenforce) อำนาจของผีที่มีลำดับชั้น อย่างไรก็ตามในปัจจุบัน ผลงานศิลปะ รวมถึงผลงานของอภิชาติพงศ์ได้สะท้อนให้เห็นถึงการ ปะทะ (clash) ประวัติศาสตร์ ของผีตนเดิมกับกลุ่มแกงค์ของผีตนใหม่อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ และที่มากไปกว่านั้น เนื่องจากลัทธิวิญญานิยม (Animism) ถูกสร้างให้เป็นกายภาพผ่าน “Fetishism” ดังนั้น ผีที่ยืนอยู่บนลำดับชั้นสูงสุดจะถูกเข้าใจว่าเป็นวัตถุแห่งความรัก “THE LOVE ONE” เช่นที่ Gill Deleuze ได้เคยอธิบายสิ่งนี้ว่าเป็น “desired object” หรือ “วัตถุแห่ง แรงปรารถนา” ฉะนั้นสิ่งที่เรามีประสบการณ์ต่องานศิลปะจึงปลุกเร้าให้เราสำนึกจรรโลงตนเอง ให้เข้าใจถึงสถานะความเป็นลำดับชั้นของผี ขณะเดียวกันก็สร้างแรงปรารถนา และการโหยหา ความรัก ใน “THE LOVE ONE” ด้วยเช่นกัน

ในประเด็นเรื่องสภาวะเรื่อง “Male Bonding” ที่สัมพันธ์กันก็คือ ผีตนนั้นไม่อนุญาตให้ผี เพศอื่นๆ เกิดขึ้นได้ “Male Bonding” เป็นวัตถุแห่งแรงปรารถนา (Object of desire) ที่ถูกแปร เปลี่ยนให้มีสถานะเป็นเครื่องรางสมัยใหม่ ที่พวกมาร์กซิสม์ (Marxism) อธิบายว่าเป็น “commodity Fetishism” การโหยหาเรียกร้องความรักจาก “THE LOVE ONE” จากโลกของ วัตถุที่ถูกสร้างสรรค์ขึ้น ขณะเดียวกันก็ถูกผลิตซ้ำเพื่อการบริโภค เราเรียกร้องความรักบริโภค ความรักผ่านภาพสัญลักษณ์ ในรูปแบบ ต่างๆ จากนั้นก็กลายเป็นลัทธิพิธีตัวใหม่ มีรูปแบบของ การบวงสร้างที่ต้องคอยมีสื่อ กลาง (mediator) กั้นเราไม่ให้เข้าไปหาโดยตรงได้ สื่อกลางเหล่า นี้ไม่ได้อยู่ในที่ที่ควรอยู่อีกต่อไป แต่กลับกระจัดกระจายอยู่ในพื้นที่สาธารณะ เช่นเดียวกับสินค้า ตัวอื่นๆ เพื่อเร่งเร้าการบริโภค ความรัก และผลงานศิลปะก็คือส่วนขยาย เป็นเสมือนกิจกรรม ของเทพองค์อื่นๆ ที่อวตารลงมา เพื่อทำให้เราเข้าใจถึงความสำคัญของการโหยหาการเรียก ร้องความรักที่ยิ่งใหญ่จาก “THE LOVE ONE” นักวิชาการหลายคนมองว่าเป็นจิตเพศทาง สังคมประเภทหนึ่งที่พัฒนามาจาก “Sexual Fetishism” จึงเป็นความซาดิสต์ที่มีต่อแรงปรารถนา ภายในของตนเองกับสิ่งที่ฝากความหวังไว้ ขณะเดียวกันเราได้ผลิตซ้ำและทำความเข้าใจสิ่งนั้น ในฐานะวัตถุที่เราบริโภคได้ งานประเภทนี้จึงเป็นผลงานประเภทสัจนิยมมหัศจรรย์ (Magical Realism) ความจริงจนแบบหลอนซึ่งปรากฏมาก ในที่สุดโลกศิลปะจึงไม่ได้หมายถึงแค่โลก ศิลปะ โรงเรียนศิลปะ นักวิจารณ์ ผู้ชม นักเขียน สื่อ จึงถูกล้อมกรอบอยู่ในโลกของลัทธิพิธีทาง ศิลปะ และเนื่องจากเป็นลัทธิพิธีทางศิลปะที่มีลำดับชั้นของเทพเจ้าที่อยู่ในลัทธิพิธีนั้น บางเรื่องที่ สามารถพูดถึงได้จึงได้กลายมาเป็นประเด็นของศิลปะ ที่มีศิลปินหลายคนนำไปถ่ายทอด เช่น ทุนนิยม โลกาภิวัตน์ชั่ว ฝรั่งเลว แต่ก็มีบางเรื่องที่ไม่สามารถแตะได้ เนื่องจากเป็นลัทธิพิธีที่ เชื่อมโยงไปสู่บุคคลที่เป็นผู้ควบคุมลัทธิพิธีนั้นอยู่ นี่คือข้อจำกัดของการวิจารณ์ในปัจจุบัน ถ้าคิด จะทำลายข้อจำกัดนี้ เราจะต้อง กล้าที่จะวิจารณ์ผีตนที่ใหญ่ที่สุดในสังคมนี้ด้วย

ดร .บัณฑิตกล่าวว่า สิ่งที่ ดร.ทัศนัยพูดน่าสนใจในเรื่องปัญหาใหญ่ที่ตัวสถาบันศิลปะ ในสังคมไทยกลับเป็นการผลิตซ้ำสิ่งที่ไม่สามารถวิพากษ์วิจารณ์ได้ สถาบันทางศิลปะหล่อหลอม ผลิตซ้ำให้เกิดผลิตผล ทั้งในฐานะ outcome ซึ่งหมายถึงบัณฑิต และ output หมายถึงผลงาน ศิลปะที่กลายเป็นการช่วยส่งเสริมเติมแต่งผีอันศักดิ์สิทธิ์ (Holy ghost) งอกงาม และไม่ตั้ง คำถามต่อสิ่งที่เกิดขึ้น ศิลปะที่เห็นจึงเป็นส่วนขยายของผีตนนี้ทั้งสิ้น เช่นเดียวกับการตอบโจทย์ ที่อาจารย์ทัศนัยไม่ได้ตอบก็คือ คนที่วิจารณ์ผีอันศักดิ์สิทธิ์คือคนที่ไม่ได้อยู่ในวงการศิลปะ กระแสหลัก ท้ายสุดเราอาจจะต้องชวนคิดในประเด็นที่เรายังไม่ได้พูดถึงไม่ว่าจะเป็นเรื่อง Male Bonding, Primordial Father (พ่อผู้ศักดิ์สิทธิ์), Magical Realism และสิ่งที่ขาดไม่ได้ก็คือเรื่อง Aesthetic Judgment ที่สัมพันธ์กับงานของอภิชาติพงศ์ที่ช่วยให้เกิดฐานในการวิจารณ์ให้กับ นักวิจารณ์รุ่นใหม่ คนที่สนใจเรื่องศิลปะได้เข้าใจ เพราะศิลปะมีทริกที่ทำให้ผู้ชมได้เข้าใจรหัสนัย อันซับซ้อนซ่อนเงื่อน เมื่อเราสามารถเข้าใจทริกเราจะเกิดความเข้าใจความซาบซึ้งในงาน นี่คง เป็นสิ่งที่จะต้องทิ้งร่องรอยให้ผู้ดู ผู้ชม ผู้อ่านได้เข้าใจความหมายที่ซ่อนไว้ งานศิลปะที่ยิ่งใหญ่ ไม่จำเป็นต้องเป็นงานศิลปะที่ดี ที่ตอบโจทย์ทุกอย่าง แต่เป็นงานที่ชวนให้เราคิดต่อได้ และ เชื่อมโยงตัวเรากับตัวงานศิลปะนั้นได้

ดร. เกษมกล่าวเริ่มต้นด้วยการหยิบข้อเขียนหนึ่งขึ้นมา “บางเรื่องบางราวในชีวิตคนเรา ถูกลบออกจากความทรงจำด้วยเหตุผลง่ายๆ ถ้ามันไม่ใช่เรื่องธรรมดาเล็กน้อยจนไม่มีความ จำเป็นต้องใส่ใจก็อาจเป็นเรื่องใหญ่โตสาหัสจนไม่กล้านึกถึงมันอีก” อีกฟากฝันบันทึกแรมทาง ของชีวิตของ จีระนันท์ พิตรปรีชา สาเหตุที่นำบางประโยคในหนังสือเล่มนี้มา เนื่องจากมองว่า สัมพันธ์กับพันธกิจที่ได้รับมอบหมายให้มาวิจารณ์งานของอภิชาติพงศ์ด้วยเหตุผลสั้นอันหนึ่งก็คือ เจอหนังสือเล่มนี้โดยบังเอิญ และได้เปิดเจอหน้านี้พอดี ข้อความนี้น่าสนใจพอที่จะมาเชื่อมโยง กับงานของอภิชาติพงศ์

ตลอดอาทิตย์ที่ผ่านมาได้คิดตลอดเวลาว่าควรจำทำอย่างไรกับการมาพูดครั้งนี้มีทาง เลือกว่า 1. ควรกลับไปดูงานของอภิชาติพงศ์ 2. มาที่จิม ทอมป์สัน เพื่อดูรายละเอียดทั้งหมด จนกระทั่งได้รับสูจิบัตรเล่มนี้จากคุณกฤติยา กาวีวงศ์ เมื่อได้นั่งอ่านบทความในนั้นแล้ว ก็พบว่า ไม่ควรมา อยากปล่อยให้งานได้อยู่กับความทรงจำและเล่นกับอะไรบางอย่างต่อไป และทำงาน ผ่านหลักการของตนเอง ที่ต้องทำงานผ่านหลักการของตนเองเพราะว่าสาเหตุหนึ่งคือ ธรรมชาติ ของปรัชญาที่มีต่องานศิลปะ ด้านหนึ่งคือนักปรัชญาเวลาที่เข้ามาอยู่ในพื้นที่ของงานศิลปะ โดยเฉพาะในศตวรรษที่ 20 ไม่ว่าจะเป็น Lucas ที่เข้ามาอยู่ในงานนวนิยาย ตัวบท (text) , Benjamin เข้ามาในเรื่องของละคร (Drama), Adorno เข้ามาในเรื่องของดนตรี ไฮเดกเกอร์ เข้ามาในเรื่องของบท กวี Derrida เข้ามาในเรื่องของภาพวาด ทั้งหมดนี้ไม่ได้พยายามที่จะตอบ โจทย์ในทางศิลปะ แต่ พยายามที่จะตอบโจทย์คำถามในแง่ของฐานแนวคิดปรัชญาที่ตนเองสาธิต (demonstrate) อยู่ ประเด็นนี้จึงนำมาสู่การตั้งคำถามที่ว่าแล้วควรจะพูดอย่างไรดี เมื่อ ต้องมาอยู่ท่ามกลางอาจารย์สอนงานศิลปะ นักวิจารณ์ อาจารย์ทางรัฐศาสตร์ เช่นอาจารย์ ศิโรตม์ หรือแม้แต่ผู้ดำเนินรายการเองที่เขียนงานผลิตงานศิลปะเชิงรัฐศาสตร์ และทำวิทยานิพนธ์ ในหัวข้อดังกล่าวด้วยการได้อ่านสูจิบัตรเล่มนี้ทำให้สามารถสรุปงานของอภิชาติพงศ์ได้ว่า “ร่อง รอยของอดีตจะไม่มีวันสูญสลายไปกับกาลเวลา แต่จะเป็นร่องรอยของกาลเวลาที่ตอกย้ำถึง อดีตที่ผ่านมา” ซึ่งร่องรอยนี้มีธีมหลักที่ต่อเนื่องกัน ตั้งแต่งาน “ลุงบุญมีระลึกชาติ” มาจนถึงงาน “Primitive” ที่อภิชาติพงศ์ต้องการจะเล่นกับร่องรอย

การเล่นกับร่องรอยส่วนนี้ทำให้ผลงานธีมหลักที่ปรากฏมีสามประเด็น ซึ่งจะพูดรวมกัน ไปโดยไม่ลงไปในแต่ละประเด็น ประเด็นแรกคือ ประวัติศาสตร์ เวลา พื้นที่ของเวลา และความ ทรงจำ ประเด็นที่ 2 คือความสูญหายและการปรากฏอยู่ (Presence/Absence) และท้ายสุดคือ การกล่าวซ้ำและความต่างของเรื่องเล่า (Repetition & Difference) โดยจะเรียงร้อยทั้งสาม ประเด็นนี้เข้าด้วยกันในงานของอภิชาติพงศ์

ความน่าสนใจของงานคือการกลับมาพูดถึงเรื่องของหมู่บ้านนาบัว โดยพยายามหยิบยก ประวัติศาสตร์ของนาบัว ในแง่ของสิ่งที่เกิดขึ้น การผ่านพ้นจากวันเสียงปืนแตกมาจนปัจจุบัน คนที่มีประสบการณ์ร่วมต่อประวัติศาสตร์ ไม่ว่าจะเป็นคนในท้องถิ่น คนที่มีความเกี่ยวข้องใน เหตุการณ์ทางการเมืองต่างๆ เข้ากับพื้นที่หนึ่งในกรณีของนาบัว อาจจะไม่ใช่กรณีเดียว อาจจะ เป็นปรากฏการณ์ร่วมของชุมชนท้องถิ่นจำนวนมากในภาคอีสาน มีงานของลูกศิษย์ที่พูดถึง เรื่องของประวัติศาสตร์ชุดนี้เช่นกัน “เรื่องเล่าของสหาย” ที่ทุกคนพยายาม generate ประสบการณ์ผ่านเนื้อหา งานที่อภิชาติพงศ์ทำจึงไม่ต่างอะไรกับการพยายามเล่า แต่การเล่าของ อภิชาติพงศ์ มีอีกสิ่งที่เพิ่มเข้ามาคือพื้นที่และเวลาที่ฝังอยู่ในความทรงจำบางอย่าง ทำไม อภิชาติพงศ์ ต้องกลับมารื้อฟื้นความทรงจำนี้ผ่านการเล่นกับร่องรอยของอดีต คำตอบคือเพื่อที่ จะชี้ให้เห็นว่า ประวัติศาสตร์ของความทรงจำนั้นเป็นสิ่งที่เดินคู่ขนานซึ่งกันและกัน สิ่งที่เกิดขึ้น ในอดีตที่นาบัว สิ่งที่นาบัวถูกเขียนถูกเล่าอย่างไร สิ่งที่อภิชาติพงศ์พยายามรื้อสร้าง ทั้งหมดคือ การพยายามรื้อสร้างผ่านความทรงจำของตนเอง ซึ่งการรื้อสร้างส่วนนี้ถูกสร้างผ่านยานอวกาศ เป็นสื่อกลางที่จะเข้าไปในอดีตผ่านชุดของประสบการณ์ เรื่องเล่า เพื่อเล่นกับความทรงจำใน อดีต เพื่อที่จะให้ความทรงจำในอดีตยืนอยู่และแตกต่างจากประวัติศาสตร์ การเล่นนี้นำมาสู่ ประเด็นที่ 2 คือการเล่นระหว่างสิ่งที่สูญหายกับสิ่งที่ปรากฏ เพราะอดีตคือสิ่งที่สูญหายแต่ความ ทรงจำเป็นสิ่งที่ปรากฏ สิ่งที่ถูกเล่าที่นาบัวในเครื่องไทม์แมชีนนี้ทำให้ความเป็นปัจจุบันของสิ่งที่ หายไปได้ปรากฏอีกครั้ง การกลับมาอีกครั้งนี้สัมพันธ์กับในแง่ของการกล่าวซ้ำอยู่ตลอดเวลา ผ่านชุดประสบการณ์ที่มี ไม่ว่าเหตุการณ์ที่นาบัวจะเป็นอย่างไร แต่การกล่าวซ้ำผ่านเรื่องเล่า ของผู้ที่จะเล่ามีการพยายามที่จะพูดถึงความทรงจำ สิ่งที่เล่ามาทั้งหมดจึงมีความต่างซึ่งความ ต่างนี้เป็นสิ่งที่อภิชาติพงศ์นำมาพูด ในเรื่องของผี เมืองแม่ม่ายที่ผู้ชายถูกกักออกไป ความ สัมพันธ์ระหว่างการกล่าวซ้ำกับเรื่องเล่า ความต่างของเรื่องเล่า ตัวละครที่สำคัญตัวหนึ่ง และ กลายเป็นประเด็นก็คือ ผี ทำไมต้องเป็นผี โจทย์ที่พยายามคิดก็คือ เป็นไปได้ไหมที่ชุดของ เรื่องเล่าและความทรงจำจะไม่มีสิ่งที่เรียกว่าผี สำหรับส่วนตัวเป็นไปไม่ได้ การมีผีจึงเป็นความ จำเป็น ไม่ว่าจะเป็นการพูดในแง่ของลิงผี หรือผีต่างๆ ทำไมต้องเป็นผี ความน่าสนใจคือที่อยู่คู่ กับผี อาจจะไม่ใช่สิ่งที่อยู่คู่กับผี แต่เป็นบทบาทของผีในการหลอน คือสิ่งที่ haunting ตลอดเวลา การหลอน บทบาทของผีในเซนส์ของ Monster ที่หลอนมนุษย์ได้ รากของคำว่า “Monster” ซึ่ง ต่อมาฝรั่งเศสได้นำคำนี้มาใช้ว่า “Montre”  ในความหมายถึงสิ่งที่เตือนเรา (to warn) อัน หมายถึงนาฬิกาที่เตือน หลอนว่าเวลานี้ควรทำอะไร ผีจึงหมายถึงสิ่งที่เตือนในสิ่งที่เราต้องจำ ทั้งในสิ่งที่หายไปและสิ่งที่อยากลืมในชุดประสบการณ์ของเราเอง

ดร. บัณฑิตกล่าวว่าสิ่งหนึ่งที่เชื่อมต่อได้คือการพูดถึงงานของอภิชาติพงศ์ในบทบาทของผี ในเรื่องสิ่งที่ปรากฏและสิ่งที่ไม่ปรากฏ อาทิในประเด็นเรื่อง “Male Bonding” เนื่องจากหมู่บ้านนี้ เคยถูกเรียกว่าเป็นหมู่บ้านแม่ม่าย แต่ผีแม่ม่ายไม่ปรากฏในหนัง มีแต่ผีผู้ชายวิ่งไปวิ่งมา

อ. ถนอม        กล่าวว่าขอชวนวงเสวนากลับไปที่ภาพยนตร์ชุด “ปลุกผี”ของอภิชาติพงศ์ ที่ใช้ผีชาวบ้าน เช่น ลิงผีมาปรากฏในภาพยนตร์ประสบการณ์ส่วนตัวที่ได้มีโอกาสไปพบ ชาวบ้านท่าล้งที่โขงเจียม อุบลราชธานี เป็นชาวลู ชาวบ้านแถบนั้นมีประเพณีการล่าลิงเพื่อบูชา ผีผาแต้ม ชาวบ้านแถบลุ่ม แม่น้ำโขงใช้ลิงเป็นการบูชายัญ เป็นการเตือน ผมก็เดาเอาว่าลิงน่า จะมีส่วนเกี่ยวข้อง ในผลงานของอภิชาติพงศ์ เป็นการพูดถึงอนาคตของอดีตจาก ปรากฏการณ์ที่ให้คน มาเล่าเรื่อง การเล่าเรื่องของเด็กหนุ่มในยานอวกาศเป็นการพูดถึงเรื่อง ใน อดีตที่พูดในปัจจุบัน ที่จะบอกว่าอนาคตจะเป็นอย่างไร โดยส่วนตัวมองว่าการเชื่อมโยงจาก รุ่นปู่ย่า มารุ่นเขา ถ้าเกิดเหตุการณ์แบบนี้เขาจะทำอย่างไร คำตอบอาจจะอยู่ที่ว่าคงจะต้องต่อ ยานแล้วหนี ไม่สามารถที่จะยืนอยู่ในสังคมนี้ได้อีก เพราะที่ผ่านมาระหว่างผีรัฐกับผีบ้าน ผีรัฐมีอำนาจในการทำลายล้างมากกว่า ในขณะที่ผีบ้านทำหน้าที่คุ้มครอง การปลุกผีในงานอภิชาติพงศ์จึงเป็นการ ปลุกผีชาวบ้านที่ถูกกระทำมามาก อีกประเด็นที่น่าสนใจที่พูดเสมอว่า ทำไมถึงมีแต่ผู้ชาย ปรากฏโดยไม่มีผู้หญิง การนำเสนอของผู้ชายนี้ก็เพื่อที่จะทำให้อำนาจของ ผู้หญิงปรากฏขึ้น โดยการใช้วิธีไม่ปรากฏ เพราะในอดีตจากการที่ผู้ชายถูกเกณฑ์ไปเป็นสหาย และผู้หญิงต้องอยู่ เฝ้าบ้าน การไม่ปรากกฏของผู้หญิงจึงเป็นเหมือนการต่อรองระหว่างอำนาจ ระหว่างรัฐกับผู้ชาย กลไกของอำนาจก็คืออำนาจของผู้ชายที่ถูกนำมาเล่น การมีอยู่หรือการ หายไปของผู้หญิงจึงไม่ใช่เรื่องแปลก แต่อาจจะแปลกตรงที่เมื่อเราถกเถียงว่าทำไมผู้หญิงถึง ไม่ได้เข้ามาปรากฏในภาพยนตร์ของอภิชาติพงศ์ นี่อาจจะเป็นลักษณะส่วนตัวของอภิชาติพงศ์ ทั้งที่ในความจริงแล้ว ไม่ว่าหญิงหรือชายได้ร่วมต่อสู้กับพรรคคอมมิวนิสต์

อีกประเด็นที่สนใจ ในพื้นที่ศิลปะของอภิชาติพงศ์คือเรื่องการจัดวางการแสดง (Installation) อภิชาติพงศ์พยายามวางรายละเอียดอย่างมากในการจัดแสดงครั้งนี้ โดยมี มอนิเตอร์ใหญ่เป็นองค์ประธาน และมีจุดย่อยหลายๆ จุดล้อมรอบเพื่อให้คนดูในรายละเอียด ปัญหาก็คือเวลาที่เดินไปในพื้นที่ต่างๆ เราไม่สามารถแยกแยะได้ว่าอะไรจะเกิดขึ้นก่อน เป็นการ ทำให้ผู้ชมไม่สามารถหาจุดเริ่มต้นได้ จุดเริ่มต้นจึงอยู่ในทุกที่ในงานของอภิชาติพงศ์ ดังนั้น แม้งานจะมีความเกี่ยวข้องกันแต่ก็มีความเป็นอิสระต่อกัน ความยากง่ายในงานชุดนี้ เราต้องมี พื้นฐานทางสังคม วัฒนธรรมพอสมควร อย่างน้อยก็ต้องอ่านรหัสความเป็นภูไทได้ และชนกลุ่ม น้อยอื่นๆ ในแถบอีสานได้ กรณีที่ อ.เกษมพูดว่าเรื่องราวที่เกิดขึ้นในอีสานมีมาก เหตุการณ์ที่นา บัวได้ทำให้เราเห็นภาพซ้อนของสิ่งที่เกิดขึ้น  โดยสรุปผลงานของอภิชาติพงศ์สร้างผลสะเทือน ต่อคนที่ได้มีโอกาสสัมผัส แต่ก็ต้องเป็นคนที่มีพื้นฐานมีประวัติศาสตร์ร่วมกัน

ดร. บัณฑิตขยายประเด็นว่าจากการที่ อ.ถนอมพูดถึงบริบทที่เราจะทำความเข้าใจงาน ชิ้นนี้ของอภิชาติพงศ์ วัฒนธรรมเฉพาะที่เฉพาะแห่ง สิ่งที่น่าสนใจที่เราสามารถตีความต่อไป โจทย์ ที่หัวหน้าโครงการทิ้งไว้ และที่สิ่งที่ อ.ศิโรตม์เริ่มไว้ว่าจะเป็นจะต้องเป็นอย่างที่โฟแบรต์ กล่าวไว้ว่าเราจะต้องเข้าใจบริบท ต้องรู้ทั้งหมดจึงจะเข้าใจความปั่นป่วนวุ่นวายในการศึกษา งานของอภิชาติพงศ์มีหลายแบบหลายทิศทาง เราพบว่าคนสมัยนี้เมื่อมีสื่อสังคม (social media) ใหม่ๆ ก็ไม่มีความรับผิดชอบต่อการพูดในพื้นที่ใหม่ โดยที่ไม่ต้องมีบริบท เราควรจะมีท่าทีหรือ ทำความเข้าใจปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างไรดี ต้องเข้าใจบริบทก่อน หรือไม่ต้องมีบริบท การ เป็นนักวิจารณ์ ต้องมีทุนมากเพียงใด จึงจะสร้างความปั่นป่วนในสังคมได้

อ. ศิโรตม์ตอบคำถามในประเด็นนี้ว่า ในโลกนี้เราทุกคนไม่สามารถที่จะเป็นนักวิจารณ์ ได้ แต่เป็นนักรัฐศาสตร์ได้ เป็นนักสังคมศาสตร์ได้ ยิ่งในโลกไซเบอร์ชัดเจนมาก ในเรื่องของ การตัดสิน โดยเชื่อมโยงกับประเด็นที่กล่าวไว้ในรอบแรกเชื่อมโยงกับตัวงานของอภิชาติพงศ์ แม้งานของอภิชาติพงศ์มีบริบทบางอย่างกำกับ แต่ก็ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องตีความบริบท ต่างๆ ในแบบเดียวกัน ในประเด็นที่ อ.เกษมพูดถึงเรื่อง “Absence” และ “Presence” ในงาน ของอภิชาติพงศ์นั้น ต่อให้เรามีการรับรู้ในเรื่องของความรุนแรงโดยรัฐ ไม่ว่าจะเป็นในกรณีใดก็ ตาม เราไม่จำเป็นต้องตีความไปในแบบเดียวกัน ในการดูงาน “Primitive” ของตนเองจะเกิด อะไรขึ้น  เมื่อคนในหมู่บ้านที่รับรู้เรื่องของความรุนแรงจะต้องต่อต้านผีในเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519  ที่ในประวัติศาสตร์ของเมืองไทยมีชุดข้อมูลแบบเดียว บางเวอร์ชั่นบอกว่าผีคือคนๆเดียว อีกด้านบอกว่าผีคือสังคมไทย ทั้งหมดที่ยอมรับต่อความรุนแรง การบอกว่าผีใน 6 ตุลาคือใคร คำตอบอาจจะแตกต่างกันไป หากเราเลือกที่จะคิดว่าผีคือคนๆ เดียวหรือผีหมายถึงทั้งหมด และ ถ้าหมายถึงทั้งหมดเราจะจัดการกับจำนวนผีที่อยู่รายล้อมเราอย่างมากมายอย่างไร ในกรณีของ อภิชาติพงศ์ สิ่งที่สำคัญคือการปรากฏอยู่ (presence) ที่ไม่ได้มีความหมายเดียวในงาน “Primitive” ที่เป็นตัวโปรเจกเตอร์สองอัน การสร้างประเด็นมุมมองที่ต่างกันของผู้ชมทำให้เราเห็นภาพ เหตุการณ์แตกต่างกันไปด้วย ฉะนั้น การตีความบริบทเป็นฐานของการตัดสิน แต่ก็ไม่จำเป็นที่ เราจะตีความบริบทในแบบเดียวกัน นี่คือความสำคัญ ถ้ากลับมาที่ปัจจุบัน เรากำลังอยู่ในสังคม ที่มีการตีความอดีตที่หลากหลายมากขึ้น แต่บ่อยครั้งที่การตีความอดีตนั้นมีกรอบบางอย่าง ปรากฏอยู่ การวิจารณ์คือการพยายามชี้ให้เห็นว่า การวิจารณ์มีข้อจำกัดบางอย่างปรากฏอยู่ การวิจารณ์คือการทำให้เราเห็นว่าคอนเซปต์ การปรากฏการนำเสนอมีข้อจำกัดต่างๆ อย่างไร ปัญหาที่เกิดขึ้นคือบ่อยครั้งที่การวิจารณ์เป็นการนำเสนอว่า สิ่งที่วิจารณ์นั้นเป็นข้อเท็จจริง (truth) แบบใหม่ เป็นทางออกใหม่ของสังคม ดังนั้นไปในทางที่เรานำเสนอแล้ว สังคมจะดีขึ้นจึง จำเป็นที่คนที่หมู่บ้านนาบัวควรจะรู้ว่าเกิดอะไรขึ้นกับคนรุ่นก่อนหน้า แต่ที่ไม่จำเป็นก็คือการมี การรับรู้แบบเดียวกันกับคนรุ่นก่อน นี่อาจจะเป็นอีกหนึ่งคำถามที่สำคัญ คำตอบอาจจะไม่จำเป็น ที่จะต้องมีชุดเดียว ในงาน “Primitive”  ระยะห่างของเรากับอดีตมันเลื่อนไหลตลอดเวลา เมื่อเรา ขยับตัวออกห่างจากอดีต เราอาจจะมองเห็นอดีตในอีกแบบหนึ่ง และมองเห็นอนาคตในอีกแบบ หนึ่งด้วยเช่นกัน

ดร. ทัศนัยจึงขยายความต่อว่าเราจะเห็นว่าในผลงานของอภิชาติพงศ์ได้ทิ้งร่อยรอยไว้
จำนวนมาก คำที่เรามักพูดกันก็กลายเป็นลมหายใจของยุคสมัยว่าเราเชื่อในเรื่องความหลาก หลายทุกอย่าง สามารถเป็นอะไรก็ได้ และควรให้ที่อยู่ที่ยืนกับแนวคิดที่ต่างกัน จนนำไปสู่ความ เชื่อที่ว่าสิ่งต่างๆ สามารถตีความได้ สิ่งนี้เป็นสิ่งที่สามารถทำความเข้าใจได้โดยไม่อยาก สิ่งที่ เราเห็นในงานของอภิชาติพงศ์ที่เป็นร่องรอยที่ทิ้งไว้มีทั้งสิ่งที่ปรากฏและสิ่งที่ไม่ปรากฏร่องรอย นี้ได้ทำงาน ในการชักจูงทำให้ผู้ชมได้ออกเดินทางไปในร่องรอยที่ศิลปินได้ทิ้งเอาไว้จำนวนมาก โดยกำกับให้น้อยสุด ดังนั้นรอยอดีตที่มีปัญหา และรอยปัจจุบัน จากมุมมองของอภิชาติพงศ์จึง ถูกทิ้งเอาไว้อยู่ร่วมกัน ตรงนี้ก็นำมาสู่ความกังวลใจส่วนตัว ก็ได้นึกถึงงานของ Alfred Schütz ที่ บอกว่าเราสามารถเข้าใจอดีตจากมุมมองของปัจจุบันได้ เพราะเราไม่มีทางรู้อดีตได้ เนื่องจาก เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นไปแล้ว แต่สิ่งที่เกิดขึ้นในอดีตต่างหาก ที่ไม่มีใครรู้ได้อย่างแน่ชัดว่าเกิดอะไรขึ้น บ้าง ประวัติศาสตร์คือการถักทอเศษส่วนของร่องรอยต่างๆ ที่นำมาสู่การสร้างเรื่องเล่าที่ต่างกัน ไป สิ่งที่ชูธไปไกลกว่านั้นไม่เพียงนำอดีตมาทำความเข้าใจมุมมองของปัจจุบันเพื่อที่จะทำให้ ปัจจุบันเราได้เห็นถึงปัญหาของปัจจุบันด้วย ความถูก ความผิด เป็นสิ่งที่ควรละและใส่วงเล็บไว้ เพื่อสำรวจสิ่งที่สามารถเกิดขึ้นได้ สิ่งที่ควรคิดต่อก็คือเรื่องของความจริง (Truth) ที่ทำให้การตีความ ความเชื่อในเรื่องความหลากหลาย ฯลฯ ต้องยืนอยู่บนพื้นฐานของสิ่งที่เกิดขึ้นจริงในสังคม ไม่ได้มาจากการตีความของหลายๆ คน

ย้อนกลับมาที่สังคมไทย ถ้าอดีตคือสิ่งที่หลอนหลอกความเป็นไทย มีคนกลุ่มหนึ่ง พยายามประดิษฐ์สิ่งที่หลอนหลอกเพื่อนำไปสู่ความเป็นจริงของสังคมปัจจุบัน แล้วเราจะเข้าใจ ความเป็นจริงของสังคมปัจจุบันได้อย่างไร แน่นอนว่าเราจะต้องใช้ชุดความเข้าใจในอดีตที่จะ ต้องนำมาถกเถียงกัน ในขณะเดียวกันก็ต้องเชื่อมโยงกับสิ่งที่เกิดขึ้นจริงในสังคมด้วย กลับไปที่ เรื่องที่พูดถึงว่าสังคมไทยมีการกำกับรัฐธรรมนูญในเรื่องรสนิยม เช่นเดียวกับการกำกับเรื่องกฎหมาย สิ่งเหล่านี้ไม่ใช่การถกเถียงเชิงแนวคิดเท่านั้น จึงต้องกลับไปดูที่สิ่งที่เกิดขึ้นจริงในสังคม สิ่งที่ต้องทำนอกจากทำงานในเชิงแนวคิดแล้วยังต้องทำงานเชื่อมโยงกลับไปถึงสิ่งที่เกิดขึ้นจริง ในสังคมด้วย หากจะบอกว่าเมืองไทยมีเสรีภาพอย่างแท้จริง คงไม่สามารถพูดแค่เพียงในเชิง แนวคิดได้ แต่ต้องมีการศึกษาสำรวจด้วยว่าเป็นเช่นนั้นจริงหรือไม่ และด้วยวิธีใดก็ตาม

ดร. บัณฑิตสรุปความว่า เราพูดกันมาโดยตลอดชวนให้คิดว่าเรากำลังพูดถึงงานศิลปะ หรือสังคมไทย หรือการวิจารณ์ตนเอง และการวิจารณ์นั้นเกิดขึ้นเพื่อความสนุกสนาน หรือเพื่อ เปลี่ยนแปลงสังคมไทย ดร.ทัศนัยชวนให้เรากลับมานึกถึงสิ่งที่เป็นสาระสำคัญในชีวิตที่บาง อย่างแม้เป็นเพียงจินตภาพ แต่ผลที่เกิดขึ้นในเรื่องความรุนแรงเกิดขึ้นจริง ซึ่งครั้งหนึ่งเป็น สิ่งที่พูดไม่ได้ แต่ปัจจุบันสามารถพูดได้ผ่านพื้นที่ของงานศิลปะ ผ่านเสรีภาพของชายหนุ่มผ่าน ภาพจำลองของผีในหนัง หรือการที่ อ.ถนอม เสนอว่าการมีหรือไม่มีผู้หญิงอาจเป็นเรื่องเดียว กัน เราขมวดปมที่จะขยายต่อเพื่อนำมาสู่การวิจารณ์ เมื่อถึงจุดหนึ่งเราคงต้องหาเป้าของการ วิจารณ์

ดร. เกษมขยายความต่อว่า เวลาที่พูดถึงเรื่องการ “ปลุกผี” การวิจารณ์อาจจะต้องย้อน กลับมาพิจารณาว่าการวิจารณ์ในสังคมไทยคืออะไร โดยเฉพาะเวลาที่พูดถึงงานวิจารณ์ไม่ สามารถจะหลีกเลี่ยงวัตถุ (object) ที่เราวิจารณ์ได้ สิ่งที่ทำให้การวิจารณ์ไม่เกิดขึ้น คือ 1. การ ขาดสิ่งที่เรียกว่า creative common ซึ่ง creative common ของ object ของการวิจารณ์ หมายถึงอะไรก็ตามที่ถูกพูดถึง จำเป็นต้องมีสถานะสมบัติความเป็นสาธารณะที่จับต้องได้ แต่ใน สังคมผลงานบางอย่างถูกปฏิบัติเหมือนเป็นสมบัติส่วนตัว เป็นพิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์ที่แตะต้องไม่ ได้ ยิ่งไปกว่านั้นผลงานบางอย่างหันไปอยู่ใต้กรอบของอะไรบางอย่างก็เท่ากับไม่ใช่สิ่งที่เป็น creative common ที่ทุกคนพูดถึงได้ร่วมกัน 2. เราไม่มีพื้นที่สาธารณะ (public space) ที่เรา สามารถมาแสดงความคิดเห็นร่วมกันได้ การไม่มีพื้นที่สาธารณะนั้นมาจากพื้นฐานบางอย่างที่ ว่าเราอยู่ในสังคมอำนาจนิยมและไม่มีสิ่งที่เรียกว่าทัศนคติแบบประชาธิปไตย และไม่ยอมรับ ความเสมอภาคทางความคิด 3. คือ สังคมไม่ได้มองการวิจารณ์ในฐานะกิจกรรมทางปัญญาที่จะ บ่มเพาะสติปัญญา ตรงกันข้ามกลับพยายามดูเบา การวิจารณ์คือกิจกรรมที่เคร่งเครียดที่ ทั้งหมดแล้วคือกระบวนการเรียนรู้ (Learning Process) ของคน คือการบ่มเพาะสติปัญญา ความรู้สึกนึกคิดคนที่สังคมต้องยอมรับและให้เกียรติ แต่สังคมมองไม่เห็นกระบวนการนี้ 4. บน พื้นฐานของวัฒนธรรมการวิจารณ์ คือสิทธิที่จะโต้แย้ง โต้เถียง มีการเห็นด้วยที่จะไม่เห็นด้วย สิ่งนี้เป็นสิ่งที่ทำให้วัฒนธรรมการวิจารณ์ไม่เกิด โดยเฉพาะในสังคมนี้ เราอยู่ในขนบนี้และไม่เคย พยายามเปลี่ยนแต่กลับพยายามรักษาเอาไว้ ซึ่งเป็นอุปสรรคที่สำคัญที่มีต่อการวิจารณ์ 5. อีก ประเด็นที่เป็นภาพรวมใหญ่ในสังคมโลกก็คือการโตขึ้นของสื่อสังคม (Social Media) หรือ สังคมข้อมูลข่าวสาร (Information Society) ที่เปลี่ยนขนบบางอย่าง ทำให้การวิจารณ์ คนที่ทำงาน ด้านการวิจารณ์เกิดการโตของคนจำนวนมากที่มีสิทธิที่เข้ามาเขียน มาร่วมสร้างพื้นที่ที่เคยผูก ขาดการวิจารณ์ที่เคยอยู่ในพื้นที่ของสื่อที่ใครจะสามารถพูดหรือ แสดงความคิดเห็นในบางเรื่อง เท่านั้น แต่ในปัจจุบันการเกิดของอินเทอร์เน็ตนี้เป็นความคิดพื้นฐานที่สังคมนี้ไม่เคยเข้าใจว่านี่ คือ การลดการรวมเข้าสู่ศูนย์กลาง (Decentralize) อำนาจที่คนสามารถจะแบ่งปันทัศนะเข้าสู่ แหล่งของข้อมูลความรู้ได้ด้วยตนเองไม่จำเป็นต้องผ่านคนกลาง นี่คือเป็นเรื่องใหญ่เรื่องหนึ่ง และการที่ทุกคนสามารถที่จะแสดงความคิดเห็นได้ก็เป็น การท้าทายเช่นกันที่จะพิสูจน์ได้ว่า ทัศนะใดได้รับการยอมรับทัศนะใดด้อยค่า ซึ่งไม่ใช่โลกของการแข่งขัน แต่เป็นโลกที่ทุกคนจะ ต้องทำงานหนักมากขึ้น อีกประเด็นที่สำคัญที่สังคมไทยไม่เห็น แต่สังคมโลกตื่นตัวคือ การหาย ไปของความหวัง (hope) หรือยูโทเปียบางอย่างที่เป็นแกนกลาง เป็นมาตรฐานเป็นหมุดหมาย ที่บทวิจารณ์จะนำไปสู่  แม้จะไม่มีมาตรฐานใดที่จะสามารถบอกได้ว่า เมื่อเราวิจารณ์ใน ประเด็นใดประเด็นหนึ่งแล้วจะชี้ไปสู่อุดมคติ มาตรฐาน ความคาดหวังบางอย่างได้ เนื่องจากความคิดนี้สูญสลายไปแล้วเมื่อเหตุการณ์พฤษภาคม 1968 ที่ไม่ได้ เป็นแค่เหตุการณ์ทางการ เมือง แต่รวมไปถึงเหตุการณ์ทางความคิด ทำให้คนไม่เชื่อในเรื่องของความเปลี่ยนแปลงความ หวัง สอดคล้องไปกับภาพการขึ้นมามีอำนาจของนาซีและฮิตเลอร์ การวิจารณ์ด้านหนึ่งเคยผูก พันธกิจไว้กับสิ่งนี้แต่ต่อมาได้หายไป ซึ่งไม่ได้เป็นแค่ภาพการวิจารณ์ในสังคมไทยและสังคม โลก

อย่างไรก็ตาม กิจกรรมการวิจารณ์ยังคงอยู่ในบทบาทที่แปรเปลี่ยนไปในสองลักษณะคือ 1. การวิจารณ์ยังเป็นกระบวนการที่เรียกว่ากระบวนการเรียนรู้ (Learning Process) ที่ทุกคน สามารถแลกเปลี่ยนทัศนะ ต่างๆ ที่พร้อมที่จะเห็นด้วยหรือไม่เห้นด้วยทัศนะที่สามารถโต้แย้งได้ นี่เป็นทัศนะพื้นฐานที่ยังคงอยู่และ 2. งานวิจารณ์เป็นงานที่เคร่งเครียด ไม่ใช่เพียงแค่เห็นอะไร แล้วนำมาถ่ายทอด แต่งานวิจารณ์มีการบ้าน จำนวนมากในการนำไปสู่การเคลื่อนไหวทาง ความคิด เพราะคนที่ผลิตงานเพื่อให้เกิดการวิจารณ์เขาทำงานหนัก ฉะนั้นการวิจารณ์จะต้อง ทำงานหนักควบคู่กันไป สองสิ่งนี้เองที่ยังคงมีความสำคัญอยู่ และสิ่งที่จะเชื่อมโยงต่อมาก็คือ เรื่องการประเมินคุณค่า เพราะเมื่อเราเข้าไปในพื้นที่ของงานศิลปะ การประเมินค่าที่เป็นเรื่อง ใหญ่ในแง่สุนทรียศาสตร์ที่สังคมไทยอาจจะไม่ตระหนัก เราไม่ได้มองคุณค่าเชิงการรับรู้เชิงวัตถุ เชิงความสวยงามอีกต่อไป แต่เป็นการประเมินคุณค่าที่สำคัญในประเด็นของสิ่งที่ถูกสร้างสรรค์ เรายอมรับชุดการเคารพทางความคิดเป็นสิ่งสำคัญที่เราได้จากการเสพงานศิลปะ และคิดว่านี่ เป็นคุณค่าพื้นฐาน แต่การได้รับการยอมรับในผลงานของอภิชาติพงศ์ ที่ไม่ได้เป็นเพียงแค่ “Primitive Passion” ในความหมายที่เป็นการหยิบยกเรื่องตนเองให้คนอื่นได้รับรู้ แต่เป็นความ สามารถในการสื่อเรื่องเล่าที่คนอื่นคนภายนอกเข้าใจ นี่เป็นการประสบความสำเร็จส่วนหนึ่งใน งานของอภิชาติพงศ์ ซึ่งแม้จะไม่ประสบความสำเร็จเลยในสังคมไทยก็ไม่ใช่เรื่องแปลก แต่สิ่งที่ ปรากฏคืออภิชาติพงศ์สามารถหามุมมองในการถ่ายทอดการเล่าในแง่การสื่อสารความสัมพันธ์ ต่อผู้อื่นในเรื่องของเราที่จะถ่ายทอดได้ นี่เป็นสิ่งที่ภาพยนตร์ไทยส่วนใหญ่ล้มเหลว และมี ปัญหาในการถ่ายทอดเรื่อง นี่เป็นมิติที่สำคัญในฐานะผู้สร้างสรรค์งานที่จะต้องรู้วิธีการที่จะสร้าง ความสัมพันธ์กับคนอื่นให้เข้าใจเรื่องของเราอย่างไร และนี่เป็นปัญหาหนึ่งของศิลปินไทยที่ไม่ เข้าใจว่าการเล่าเรื่อง หรือการพยายามสื่อสาร เพราะสิ่งที่เป็นปัญหาคือการมองวัฒนธรรมที่คน บางกลุ่มไม่เคยมองวัฒนธรรมในฐานะที่เป็นการสื่อความสัมพันธ์กับผู้อื่น แต่กลับมอง วัฒนธรรมว่าเป็นสิ่งสูงค่าและแน่นิ่ง

ดร. บัณฑิตกล่าวว่ามีหลายเรื่องที่ทับซ้อนกัน การคิด การเล่าไม่ได้เป็นเพียงแค่การบ่น ส่วนตัว การคิดคือกิจกรรมทางการเมืองอย่างหนึ่ง ซึ่งมีคุณค่าในชีวิตมนุษย์ นี่คือสาระที่จะชวน ให้คิดต่อได้ ตั้งแต่ฟังมาก็คิดไปด้วยว่าท้ายสุดแล้ว ไม่ว่าเราจะใช้งานศิลปะหรือไม่ คงมีคำตอบ หลายอย่าง แต่ที่แน่ๆ คงเป็นเช่นที่ อ.เกษมสรุปก็คือ คนที่เกี่ยวข้องจะได้ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของ กระบวนการเรียนรู้ได้ทำให้คิดอย่างต่อเนื่อง เปิดพรมแดนให้คิดต่อกับประเด็นที่เชื่อมโยง เพราะมนุษย์มีปฏิสัมพันธ์ทั้งกับส่วนตัวและต่อสาธารณะ

 

 

 

 

คำถามจากผู้เข้าร่วมเสวนา

คุณวรเทพ อรรคบุตรถาม ดร.ทัศนัย ว่าสำหรับลัทธิพิธีที่เป็นการบูชาตัวบุคคล ถ้า เทียบ กับพื้นที่ของวัฒนธรรมป็อป เช่น การเสพดนตรี การเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ เนื่องจาก เป็นเรื่องของการบริโภค การสร้างความเป็นกลุ่มก้อนทางภาษาที่จะสื่อสารเหมือนกัน

อีกประเด็นหนึ่งเป็นความคิดเห็นที่มาจากการอ่าน บทความชื่อ “เกินแกง” บทความในช่วงท้ายจะเมื่ออ่านระหว่างบรรทัดว่า ถ้าจะก้าวข้ามไปวิจารณ์ทัศนคติทางการเมือง ของศิลปินว่ามีการวิจารณ์ความเห็นที่ควรจะไปในทิศทางที่เที่ยงตรงมากกว่านี้ แต่โดยส่วนตัว เห็นแย้งเนื่องจากศิลปะไม่จำเป็นที่จะต้องตอบเรื่องความถูกต้องทางการเมือง เพราะว่าในตัว งานวิจารณ์อธิบาย แนวคิด Relational Aesthetic ว่าทำให้เกิดการปะทะสังสรรค์เปลี่ยนให้พื้นที่ ของหอศิลป์เป็นพื้นที่ของการมีชีวิตชีวา การสร้างโมเดลให้คนเข้ามาอยู่ในงาน โดยที่มีภาพ เหตุการณ์ทางการเมือง แต่เนื่องจากข้อความระหว่างบรรทัดของผู้เขียนที่ว่า “ศิลปินละเลยตัว ละครที่ทำให้เกิดความวุ่นวายในรอบ 50-60 ปี แต่ศิลปินเสนอทางออกให้แค่ทุกคนมากินแกงสี ต่างๆ เท่านั้นหรือ” นี่เป็นทัศนะส่วนตัวในการอ่านงานวิจารณ์อีกชั้นหนึ่ง

ดร.ทัศนัยตอบว่าสิ่งที่อธิบายมานั้นเห็นว่า ศิลปะไม่ควรมีบทบาทชี้นำ ควรที่จะเป็น แกงโฮะที่ชวนให้คนมาร่วมหาคำตอบ ซึ่งนี่ก็คือความกังวลใจที่บอกไปแล้วส่วนตัวที่กลายเป็น ความไม่มีอะไร ศิลปินอยู่เหนือความขัดแย้งได้ กลายเป็นลัทธิที่ไม่ได้นำไปสู่อะไรที่ดีขึ้น เพราะ ในท้ายที่สุดแล้วตัวเขาเองก็เหมือนทำตนอยู่ในลัทธิพิธีที่ถูกสร้างขึ้นมา เราก็จะเห็นข้อโต้แย้งที่ อยู่ในงานศิลปะเต็มที่ก็แค่พูดเป็นวลี เช่น ความรัก แสงสีในธรรมชาติ ความขัดแย้งในการเมือง ซึ่งศิลปินสำคัญผิดว่าสิ่งเหล่านั้นคือเนื้อหา ที่หนักไปกว่านั้นก็คือ บางคนคิดว่าเป็นแนวคิด (concept) ด้วย นี่คือปัญหามาก ลัทธิพิธีที่ถูกปลูกฝังในโรงเรียนศิลปะ ในสังคมไทยไม่ทำให้ ศิลปินพูดถึงเนื้อหาและลึกไปสู่แนวคิด ความเชื่อว่าเป็นศิลปินของเขา แต่กลับเอาศิลปะมาพูด เป็นวลีเท่านั้น

สำหรับประเด็นแรก วัฒนธรรมป็อบ ผมไม่แน่ใจ เพราะถ้ากลับไปอ่านงาน Carnival ของมิคาอิล บัคทีน (Michael Bakhtin) เกี่ยวกับลักษณะของมหรสพขนาดใหญ่ คอนเสิร์ตเหล่านั้นอาจแสดงถึงสถานะ ทางเอกสิทธิ์ที่ถูกผลักมาสู่เอกชน พื้นที่ที่สถานะทางสังคมเบาบาง เพราะทุกคนเข้าไป ทำกิจกรรมต่างๆ เหมือนกัน ไม่มีใครสนใจใคร แต่ถ้าไปอ่านงานของ กีย เดอเบอ (Guy Debord) ชื่อ Society of Spectacle เขากลับมองว่ามหรสพทางสังคมสมัยใหม่ ทำหน้าที่ทำให้คนเชื่องกับความสนุก สนานนั้น โดยขาดทัศนะทางการวิจารณ์

สำหรับยุทธวิธีในการนำแสดงออกในงาน “who’s afraid of red, yellow, and green” เป็นซีรีส์ ในงานที่ต้องการพูดเรื่องการประท้วงทั่วโลก แต่อาจจะกลายเป็นประเด็นที่ศิลปินหยิบ มาใช้ต่อ ตอนที่ตั้งชื่องาน มาจากงานของ Barnett Newman ที่มีคนเข้าไปทำลาย ศิลปินจึง หยิบชื่อมาใช้ผลงาน และวาดภาพฉากหลังเป็นภาพเหตุการณ์ 6 ตุลา งานของ
อภิชาตพงศ์กับงานของฤกษ์ฤทธิ์ โดยส่วนตัวคิดเป็นคนละบริบทกัน งานของอภิชาตพงศ์มีสื่อ (media) เข้ามาเชื่อมหลายตัว ทั้งในส่วนที่เป็นภาพยนตร์ เป็นการจัดวาง การเล่าเรื่อง การ สร้างเรื่อง การสร้างยานอวกาศ ที่สื่ออะไรออกมา ได้อย่างหลากหลายมากกว่าการแสดงงานใน ห้องสี่เหลี่ยม แล้วมีภาพเป็นพื้นหลังในเรื่องของการตีความก็เป็นไปคนละทิศทางทั้งสองชิ้นคง ต้องขยายในพื้นที่อื่นที่เกี่ยวข้องกับอภิชาติพงศ์

อาจารย์กมล เผ่าสวัสดิ์แสดงความคิดเห็นในฐานะที่ทำงานเกี่ยวข้องกับสื่อ (media) ด้วย สิ่งที่เห็นในงานอภิชาติพงศ์ในประเด็นเรื่องสุนทรียศาสตร์ เป็นไปได้หรือไม่ที่อภิชาตพงศ์ พยายามพูดเรื่องประชาธิปไตยผ่านพื้นที่ของนาบัว ในลักษณะของการร้อยเรียงการจัดวางที่ ออกมาเป็น Video Installation ที่มีโครงสร้างของงานที่แบ่งภาวะความเป็นวัตถุ (object) พื้นที่ (space) และ เวลา (time) ฉะนั้นเรื่องเหล่านี้ในฐานะคนทำงานมีเดียหมือนกัน การถูกแยกย่อย ของวัตถุเหล่านี้มีความเป็นฟุตเทจของหนังแต่ละตอนที่ไม่ได้ถูกร้อยเรียงในฐานะมีเดีย  จึงมอง ว่าอภิชาติพงศ์ไม่ได้สนใจที่จะเล่าเรื่องของนาบัวในฐานะที่เป็นพื้นที่นาบัว เพราะถ้าอภิชาติพงศ์ เล่าความเป็นนาบัวผ่านความเป็นนาบัวก็อาจจะขาดรสชาติที่มีภาวะของการถูกเชื่อมโยงกับ ภาวะของความเป็นประชาธิปไตยที่สร้างบริบทของการไม่เรียงตามลำดับเวลา (non linear) ของคนที่เข้าไปชมงาน

สำหรับประเด็นสัญญะหรือ วัตถุที่ทำหน้าที่ร้อยเรียงเรื่องราวกับภาวะนามธรรมที่ผู้ชม จับต้องได้ ศิลปินมีความเป็นอิสระที่จะพูดถึงสิ่งที่เกิดขึ้นแล้ว ที่มักจะถูกนำไปพูดถึงโดยกว้าง ขวางในประวัติศาสตร์ จึงมองว่าศิลปินเองไม่จำเป็นที่จะต้องนำมาพูดซ้ำอีก การแยกส่วนเหล่า นี้เองที่เป็นความน่าสนใจที่พื้นที่วัตถุแต่ละชิ้นมีการจัดวาง เวลาที่ผู้ชมเดินเข้าไปในพื้นที่งานจะ เห็นความเป็นเรื่องย่อยที่กระจัดกระจาย แต่เมื่อเราเดินไปในรอบพื้นที่จะพบว่าเรื่องย่อยๆ เหล่า นั้นจะถูกร้อยเรียงเป็นเรื่องใหญ่ที่เกิดขึ้น ในจินตนาการที่ผสมกับประสบการณ์ร่วมของผู้ชมที่มี ต่อประวัติศาสตร์ สิ่งนี้เองที่ทำให้มีความเป็นอิสระของผู้ชมทั้งต่อผลงานของศิลปิน และต่อตัว ละครที่ปรากฏขึ้นในแต่ละงาน ทั้งการฝึกยิงของคนหนุ่มสาว  ผีที่กระตุ้น ไปสู่การตั้งคำถามว่า เกิดอะไรขึ้น การสร้างยานอวกาศก็เช่นกันที่สามารถบ่งบอกถึงความเป็นประชาธิปไตยในฐานะ ที่อภิชาติพงศ์เป็นผู้กำกับฯ การที่เขาปล่อยให้ชาวบ้านแสดงออก กระทำกับยานอวการอย่าง อิสระก็เป็นส่วนหนึ่งที่ชี้ให้เห็นถึงการมีประชาธิปไตยในการจัดการและไม่จัดการ

อีกส่วนหนึ่งที่พลักออกจากพื้นที่ในจอใหญ่จะเห็นว่ามีเรื่องแสงแฟลช ที่อาจจะเชื่อมโยง ไปถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น อาจจะเป็นเรื่องเสียงปืนแตก หรือเหตุการณ์ใดๆ ก็ตาม โดยส่วนตัว มองว่าวัตถุผลงานเหล่านี้เป็นเสมือนฟุตเทจย่อยที่ถูกร้อยเรียงในแบบเรียงตามลำดับเวลา  (linear) แต่ในฐานะผลงาน จัดวาง การร้อยเรียงแบบนี้ที่ทำให้เราเข้าไปชมสัมผัสกับผลงานจน เกิดการตีความ อาจจะไม่มีเรื่องของเวลาในแบบ linear ที่จะทำให้เราเชื่อว่าเกิดอะไรขึ้น นั่นคือ อิสระอีกอันที่เรามีสิทธิที่จะเชื่อหรือไม่เชื่อเมื่อเกิดการตีความ

แต่สุดท้ายแล้วก็มีภาวะที่มีการแบบเรียงตามลำดับเวลา  (linear) และการไม่เรียงตาม ลำดับเวลา  (non linear) ในทำนองเดียวกัน คือเราถูกการ จัดการในฐานะของผู้กำกับและ ศิลปินทั้งในฐานะตัวบทและวัตถุที่พาเราเดินเข้าไปสู่ห้องสุดท้าย และต้องใช้เวลาจ้องมองใน พื้นที่นั้นสร้างความรู้สึกเสมือนว่าได้ขึ้นไปในยานอวกาศกับผลงานชิ้นนั้นด้วย ในการเชื่อมโยง ระหว่างพื้นที่เหล่านี้ โครงสร้างเหล่านี้เป็นวิธีการตีความความอิสระของความเป็น ประชาธิปไตยและสิทธิของผู้ชม ขณะเดียวกันก็มีสิทธิของความเป็น “Primitive” ที่เป็นภาพที่ ปรากฏในงาน music video ก็ได้สร้างให้เกิดสิทธิส่วนบุคคล ที่คนดูจะต้องใช้ผู้ฟัง การผสมกัน ของวิธีโครงสร้างเหล่านั้นสร้างให้เกิดภาวะกึ่งเคออสติก แต่เรากำลังอยู่ในพื้นที่จำกัดกับความ เป็นมิวสิควิเดโอ ภาคเด็กหนุ่มที่วิ่งไปเรื่อยๆ อาจจะสะท้อนถึงภาวการณ์หายไปของชายหนุ่ม ในอดีตหรือไม่ในเวลาเหตุการณ์ทางการเมือง สิ่งเหล่านี้มีการเชื่อมโยง หรือตั้งข้อสงสัยหรือไม่ หรือว่าอภิชาติพงศ์กำลังพูดถึงสภาวะความเป็นตัวตนของอภิชาติพงศ์ที่ดึงเอาเด็กหนุ่มมา แสดงในงานของเขา นี่ก็เป็นความมีอิสระของตัวศิลปินเองในฐานะที่เป็นตัวของเขาเอง นี่เป็น ความน่าสนใจในลักษณะที่อภิชาตพงศ์ต้องการกล่าวถึงเรื่องความเป็นประชาธิปไตยผ่านพื้นที่ นาบัวในประวัติศาสตร์

ดร. บัณฑิต กล่าวสรุปว่า จากการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในวันนี้ทำให้รู้ว่าการเป็น นักวิจารณ์ต้องรู้ประวัติศาสตร์การเมืองไทย ต้องมีแนวคิดทฤษฎีบางอย่างเพื่อทำความเข้าใจ และภูมิหลังของศิลปิน และรู้เรื่องความงามด้วยเช่นกัน

 

———————————————

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *